จำนวนคนอ่านล่าสุด 1015 คน

พระสมเด็จ วังหน้า๒๓๖๕


พระสมเด็จ วังหน้า๒๓๖๕

พระสมเด็จ วังหน้า๒๓๖๕


รายละเอียด :

พระสมเด็จ ในภาพมิใช่องค์ในบทความ

****************************

Chok Permpool ได้เพิ่มรูปภาพใหม่ 6 ภาพ

กรุงเทพมหานคร · 

พระสมเด็จอรหัง วัดมหาธาตุ ขรัวสุกทำปลุกเสก ๒๓๖๕
สมเด็จ พระสังฆราช (สุก) ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๓ อยู่ในตำแหน่ง ๓ พรรษา สิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๕ พระชนมายุได้ ๙๐ พรรษา

ขอขอบคุณ คุณ Jameson Kp ที่นำพระมาแสดง เพื่อการเผยแพร่พระพุทธศาสนา(Line : ชมรมคนชอบส่องพระ)
พระสมเด็จอรหัง พิมพ์ใหญ่ ลงรักน้ำทอง บันทึกด้านหลังขององค์พระ " พระสมเด็จอรหัง วัดมหาธาตุ ขรัวทำปลุกเสก พ.ศ.๒๓๖๕

พระสมเด็จอรหัง วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร เป็นพระพิมพ์เก่าแก่ที่มีความเหมือนกับ "พระสมเด็จ" อันลือชื่อที่สร้างโดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังสี ค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นเนื้อมวลสารหรือพิมพ์ทรง แม้กระทั่งอายุการสร้างก็คงจะไม่ด้อยไปกว่ากันมากนัก 
เนื่องด้วยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า(สุก ไก่เถื่อน) ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและเคารพเลื่อมใสของพุทธศาสนิก ชนทั่วประเทศ และยังมีกิตติศัพท์เป็นที่เลื่องลือในด้านพุทธาคมเป็นเลิศในสมัย และยังเป็นพระอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพรพพุฒษจารย์โตพรหมรังสี เป็นผู้จัดสร้างพระเครื่อง ในอดีตเรียกว่าเป็นที่นิยมสูงรองๆ จากพระสมเด็จทีเดียว
พระสมเด็จอรหัง ใช้ปูนเปลือกหอยเป็นมวลสารหลัก ในการสร้างเช่นเดียวกับพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม 
ส่วนผสมอื่นๆ ก็คล้ายคลึงกัน เช่นเศษอาหารที่ฉัน วัสดุบูชาและผงอิทธิเจ จะผิดกันตรงสัดส่วนของมวลสารแต่ละชนิดที่นำมาผสมกันเท่านั้น ร่องรอยการสลายตัวและหดตัวก็จะเหมือนกัน 
ด้วยมวลสารและอายุขององค์พระใกล้เคียงกัน แต่เนื้อขององค์พระของ พระสมเด็จอรหังจะมี ๒ สี คือ 
เนื้อขาวและเนื้อแดง 
สันนิษฐานว่าอาจจะมีการผสมปูนกินหมากหรือพิมเสนเข้าไป เมื่อผสมกับปูนเปลือกหอยทำให้เนื้อมวลสารกลายเป็นสีแดง
"พระสมเด็จอรหัง วัดมหาธาตุ" เป็นพระเนื้อผง รูปสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก องค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางสมาธิ บนฐานสามชั้น และมีซุ้มครอบแก้วเช่นเดียวกับพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม 
แต่จะมีพุทธลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะคือ แม่พิมพ์เป็นแม่พิมพ์ที่ใช้แผ่นหินอ่อนปิดทั้ง 4 ด้าน เมื่อกดพิมพ์เป็นที่เรียบร้อยก็จะเปิดแผ่นหินอ่อนและถอดองค์พระออกจากแม่ พิมพ์ ไม่ต้องมีการตอกตัด 
จึงปรากฏเส้นขอบนูนทะลักขึ้นมาทั้ง 4 ด้าน อันเป็นเอกลักษณ์สำคัญประการหนึ่ง เส้นซุ้มครอบแก้วเป็นเส้นเล็กและบาง พระเกศเป็นเส้นเล็ก คม และยาว พระพักตร์กลม พระกรรณทั้งสองข้างเป็นเส้นเล็กนูนและคม ข้างขวาขององค์พระจะชิดพระพักตร์มากกว่าข้างซ้าย ลำพระศอเป็นเส้นคม พระอุระเป็นรูปตัววี (V) มีเส้นอังสะ ๒ เส้น คมและชัดเจนมาก พระพาหาเป็นรูปวงกลม ไม่มีหักศอก และพระเพลามีลักษณะคล้ายเรือสำปั้น
พระสมเด็จอรหัง แบ่งแยกพิมพ์ได้ทั้งหมด 8 พิมพ์ คือ 
พิมพ์ใหญ่ ฐานสามชั้น เนื้อขาว 
พิมพ์ฐานคู่ เนื้อขาว 
พิมพ์ใหญ่ ฐานสามชั้น เกศอุ เนื้อขาว 
พิมพ์เล็ก มีประภามณฑล เนื้อขาว 
พิมพ์เล็ก ไม่มีประภามณฑล เนื้อขาว พิมพ์ชิ้นฟัก เนื้อขาว 
พิมพ์ใหญ่ ฐานสามชั้น เนื้อแดง 
และพิมพ์ฐานคู่เนื้อแดง พระสมเด็จอรหัง ทุกพิมพ์จะมีพิมพ์ด้านหลังเหมือนกันคือ มีรอยเหล็กจารลึกลงไปในเนื้อว่า "อรหัง" 
และพื้นผิวจะปรากฏรอยเหี่ยวย่นและการยุบตัวของเนื้อพระคล้ายเส้นพรายน้ำ หรือกาบหมาก ลักษณะเหมือนนำกาบหมากมากดเพื่อให้เนื้อแน่นมองดูคล้าย "หลังกาบหมาก" 
เว้นแต่เพียงพิมพ์เดียวคือ พระสมเด็จอรหัง พิมพ์ชิ้นฟัก เนื้อขาว พิมพ์ด้านหลังจะเป็นพื้นเรียบธรรมดา
พระสมเด็จอรหัง วัดมหาธาตุ สมเด็จพระสังฆราชสุก กรุงเทพมหานคร เป็นพระพิมพ์เก่าแก่ที่น่าสนใจสะสมพิมพ์หนึ่ง 
พระสมเด็จอรหัง เป็นพระสมเด็จเนื้อผง รูปทรงแบบสี่แหลี่ยมชิ้นฟัก มีด้วยกันหลายพิมพ์ เช่น 
พิมพ์สังฆาฏิ 
พิมพ์ฐานคู่ พิมพ์เกศอุ 
พิมพ์เล็กมีประภามณฑล 
และพิมพ์เล็กไม่มีประภามณฑล 
ที่ด้านหลังของพระมักมีการจารอักขระเป็นตัวหนังสือขอม คำว่า "อรหัง" และอีกส่วนหนึ่งที่ใช้ตราปั้มเป็นคำว่า "อรหัง" ก็มี มักเรียกหลังแบบนี้ว่า หลังตั้งโต๊ะกัง เนื่องจากลักษณะการปั้มด้านหลังคล้ายกับตราประทับเลยก็มีบ้างเป็นส่วนน้อย และพระสมเด็จอรหังนี้ เนื่องจากพระส่วนใหญ่ด้านหลังมีคำว่า "อรหัง" จึงนิยมเรียกกันจนติดปากว่า "สมเด็จ อรหัง"
พระสมเด็จอรหัง เนื้อส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อผงปูนขาว เนื้อพระจะแตกต่างกันบ้าง เช่น เป็นแบบเนื้อขาวออกหยาบมีเม็ดทราย แบบขาวละเอียดมีเม็ดทราย แบบเนื้อขาวละเอียด 
และมีแบบเนื้ออกสีแดงเรื่อๆ เนื้อนี้มักเป็นแบบเนื้อหยาบมีทราย พระสมเด็จอรหัง ส่วนใหญ่แจกที่วัดมหาธาตุฯ และพบบรรจุกรุในองค์พระเจดีย์ที่วัดมหาธาตุ 
พระที่พบที่วัดมหาธาตุเป็นพระเนื้อสีขาวที่ด้านหลังมักเป็นแบบหลังจาร ต่อมามีผู้พบพระแบบเดียวกันที่วัดสร้อยทองอีก 
ซึ่งพบบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ แต่พระที่พบมักเป็นพระแบบเนื้อสีแดง และที่ด้านหลังมักเป็นแบบหลังโต๊ะกังเป็นส่วนใหญ่ มีพบเป็นแบบเนื้อขาวบ้างแต่น้อยมาก และพระที่พบที่วัดสร้อยทองนั้นมักเป็นพระเนื้อหยาบกว่าที่พบที่วัดมหาธาตุฯ มีบางท่านให้ข้อคิดเห็นว่า พระที่พบที่วัดสร้อยทองนั้นอาจจะเป็นพระที่สร้างขึ้นมาภายหลังก็อาจเป็นได้
พระสมเด็จอรหัง วัดมหาธาตุ ของท่าน สมเด็จพระสังฆราชสุก จะมีทั้งที่บรรจุกรุและไม่ได้บรรจุกรุ พระที่ไม่ได้บรรจุกรุบางองค์พบมีการลงรักไว้แต่เดิมก็มี เป็นพระสมเด็จอีกตระกูลหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาแต่ในอดีต

๖ มีนาคม
- ปี ๒๓๖๕ เป็นวันประสูติของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านพวงศ์ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส 
พระราชโอรสพระองค์แรกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อย ซึ่งประสูติก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทรงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 
หม่อมหลวงฐิติสันต์ นพวงศ์ พระปนัดดาของพระองค์ได้เล่าในหนังสือ ๑๐๑ จุลจักรี ๑๐๑ ปี จุลจอมเกล้า ไว้ว่า 
“ทรงเป็นผู้ดูแลกรมล้อมพระราชวังในสมัยรัชกาลที่ ๔ ในบั้นปลายพระชนม์ชีพ ทรงกำกับราชการกรมพระคลังมหาสมบัติ อีกหนึ่งตำแหน่ง สืบต่อจากพระอนุชาของพระองค์ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุประดิษฐ์ กรมหมื่นวิษณุนาถนิภาธร ที่สิ้นพระชนม์ไปก่อนหน้า ส่วน “เสด็จทวด” ได้สิ้นพระชนม์ก่อนที่พระบิดาของพระองค์ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) จะเสด็จสวรรคตได้ไม่นาน”
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านพวงศ์ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส สิ้นพระชนม์เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๙กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๑๐ พระชันษา ๔๖ ปี ทรงเป็นต้นราชสกุลนพวงศ์

องค์ที่ ๕ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ เดิมอยู่วัดสระเกศ
สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)เป็นสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดมหาธาตุ ยุวราชรังสฤษด์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็นพระพุทธ เลิศหล้านภาลัย เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๕ ดำรงตำแหน่ง ๒๐ พรรษาสิ้นพระชนม์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๕ มีพระชนมายุ ได้ ๘๑ พรรษา
พระประวัติในตอนต้นไม่พบรายละเอียด มีแต่เพียงว่าประสูติในรัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ แห่งกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๐๔ ได้เป็นที่ พระเทพโมลี อยู่ที่วัดหงส์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ฯ และได้เป็นที่ พระพรหมมุนี ในรัชสมัยสมเด็นพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นที่ พระพิมล ธรรม เมื่อปีพ.ศ.๒๓๕๙ ต่อมาได้เลื่อนเป็นสมเด็จพระพนรัตน์ในรัชกาลเดียวกันทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช องค์สุดท้ายที่สถิต ณ วัดมหาธาตุ
ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ ซึ่งทรงผนวชเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๗
ในช่วงปลายสมัยของสมเด็จพระสังฆราชได้มีการชำระความพระสงฆ์ที่ประพฤติอนาจารครั้งใหญ่ได้ตัวมา ชำระสึกเสียจำนวนมาก ประมาณถึง ๕๐๐ รูปเศษที่หนีไปก็มีจำนวนมากและพระราชาคณะก็เป็นปาราชิก หลายรูป นับเป็นการชำระสะสางอลัชชีในคณะสงฆ์ครั้งใหญ่ที่สุดของกรุงรัตนโกสินทร์ แสดงให้เห็นถึงความ เสื่อมโทรมของคณะสงฆ์ในยุคนั้นและในขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นถึงความเอาพระทัยใส่ในการคณะ สงฆ์ของพระมหากษัตริย์อย่างจริงจัง

ที่มาของข้อมูล : http://www.heritage.thaigov.net/religion/cardinal/index1.htm

ที่มา...หนังสือพิมพ์ข่าวสด
https://www.facebook.com/151708568226481/photos/a.151808938216444.33895.151708568226481/306249079439095/
http://www.phenkhao.com/contents/378709
http://topicstock.pantip.com/…/20…/05/K9266860/K9266860.html
พระประวัติและปฏิปทา 
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 
สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) 
พุทธศักราช ๒๓๖๓-๒๓๖๕ 
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=44309
สมเด็จ วังหน้า ๒๓๖๕ประดับฉัพรรณรังสี
http://www.xn--v3caob9d.com/topic/show/3900
http://www.xn--v3caob9d.com/shop/show/1119

โทร: 092-873-2628

ราคา: 0 บาท

สถานะ: เปิดขาย