จำนวนคนอ่านล่าสุด 10324 คน

陛下七楼 老镀金พระสมเด็จ7ชั้น ลงรักปิดทองเก่าHis Majesty the 7th floor Gilded old


陛下七楼 老镀金พระสมเด็จ7ชั้น ลงรักปิดทองเก่าHis Majesty the 7th floor Gilded old

陛下七楼 老镀金พระสมเด็จ7ชั้น ลงรักปิดทองเก่าHis Majesty the 7th floor Gilded old

陛下七楼 老镀金พระสมเด็จ7ชั้น ลงรักปิดทองเก่าHis Majesty the 7th floor Gilded old


รายละเอียด :

#2002

陛下七楼 老镀金พระสมเด็จ7ชั้น ลงรักปิดทองเก่าHis Majesty the 7th floor Gilded old

**********************************************************************

บทความ ธรรมมณีแห่งเสน่ห์Amulet

พระสมเด็จเกศไชโย มวลสารวัดระฆัง พิมพ์ฐาน๗ชั้นนิยม ลงรักปิดทองล่องชาด
การใช้สีชาด หรือ สีแดงชาดทาลง หรือถมลงในล่องนี้ เป็นไปตามขนบนิยมและประเพณีนิยมว่า “สีแดง” เป็นสีที่มีความหมายถึง ความสว่าง ความสุกใส ควรใช้ควบคู่กับสีทอง ซึ่งหมายถึง ความรุ่งเรืองจึงเรียกกันว่า “ลงรักปิดทองล่องชาด” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “ล่องชาด”
งานลงรักปิดทองล่องชาด หมายถึง การปิดทองคำเปลว ลงบนงานศิลปวัตถุประเภทต่างๆ เช่น ปูนปั้น ไม้แกะสลัก ซึ่งมักแสดงออกในลักษณะลวดลายตกแต่งครุภัณฑ์ ยานพาหนะ หรือ องค์ประกอบสถาปัตยกรรมแบบไทยประเพณี ซึ่งในส่วนที่เป็นลวดลายก็ดี รูปภาพแทรกระหว่างลวดลายก็ดี จะได้รับการปิดทองคำเปลว ซึ่งดำเนินการด้วยวิธีการปิดทองทึบ แต่จะมีลักษณะต่างกันตรงที่มีการ “ล่องชาด” ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของงานนี้
คำว่า “ล่องชาด” นี้มาแต่คำว่า “ล่อง” คำหนึ่งกับ “ชาด” อีกคำหนึ่ง “ล่อง” หมายถึง รอยลึกต่ำลงไประหว่างผิว พื้นปรกติ ในกรณีนี้ หมายถึง ล่องที่ได้รับการขุดควักลงไป ให้ต่ำอยู่ระหว่างช่องไฟของลวดลาย หรือ พื้นหลังที่ดูเหมือนต่ำลงไปในงานปั้นปูน เน้นลวดลายให้นูนสูงขึ้นจากพื้นหลังนั้น ส่วนคำว่า “ชาด” หมายถึง วัตถุสีแดงชนิดหนึ่ง ใช้ทำเป็นสีสำหรับเขียน หรือ ระบายคำว่า “ล่องชาด” ในลักษณะของงานปิดทองล่องชาด อาจมีความหมายเป็นทั้งคำนาม และคำกิริยา ดังนี้
งานลงรักปิดทองล่องชาดนี้ ทำขึ้นด้วยความประสงค์ให้สีแดงที่ใช้ทาลง หรือ ถมลงในส่วนที่เป็นล่องระหว่างลวดลาย หรือช่องไฟระหว่างสิ่งที่ทำขึ้น ในลักษณะงานปูนปั้น งานไม้หรือหินแกะสลัก ดูเด่นเห็นกระจะขึ้นจากพื้นที่ เป็นล่องลึกต่ำ หรือ พื้นที่รองรับอยู่เบื้องหลังนั้นนั่นเอง
อนึ่ง การใช้สีชาด หรือ สีแดงชาดทาลง หรือถมลงในล่องนี้ เป็นไปตามขนบนิยมและประเพณีนิยมว่า “สีแดง” เป็นสีที่มีความหมายถึง ความสว่าง ความสุกใส ควรใช้ควบคู่กับสีทอง ซึ่งหมายถึง ความรุ่งเรืองจึงเรียกกันว่า “ลงรักปิดทองล่องชาด” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “ล่องชาด”
พระสมเด็จวัดระฆังที่เคลือบรักแดง รักดำ บางองค์ สามารถลอกผิวรักเก่าออกได้ง่าย หากผิวรักเก่าที่แห้งกรอบแล้วไม่จับติดแน่นกับเนื้อพระนัก 
การล้างรักที่เคลือบพระสมเด็จ 
มีหลายท่านที่อยากทราบวิธีการล้างรักที่เคลือบพระสมเด็จโดยไม่ทำให้ผิวพระชำรุดเสียหายหรือเป็นรอยขีดข่วน ซึ่งจะทำให้คุณค่าของพระสมเด็จด้อยลงไป ซึ่งที่จริงแล้วการล้างคราบรักนี้ไม่ได้ยุ่งยากหรือต้องเตรียมการต่างๆมากมาย 
จึงขอแนะนำวิธีการล้างรักอย่างง่ายๆโดยใช้ยาหม่องและสำลี ยาหม่องจะเป็นยี่ห้อใดก็ตามจะมีส่วนผสมของน้ำมันระเหยเป็นหลัก น้ำมันระเหยนี้จะมีคุณสมบัติในการละลายรักที่เคลือบผิวพระได้ 
วิธีการล้างจึงใช้สำลีก้อนหรือแผ่นป้ายยาหม่องบางๆเช็ดที่บริเวณที่มีรักให้ทั่ว ทิ้งไว้สักครู่ประมาณสองสามนาทีจึงเริ่มเช็ดถูออก ถ้าคราบรักหนามากก็ป้ายยาหม่องที่ผิวรักอีกแล้วค่อยๆเช็ดถูไปเรื่อยๆ รักจะละลายหลุดออกมาทีละน้อยจนผิวเกลี้ยงขึ้น 
การเช็ดถูให้รักหลุดออกมานี้จะขึ้นกับการยึดเกาะของรักกับผิวพระ หากรักแห้งสนิทแยกตัวออกจากผิวพระก็จะล้างได้ง่าย พระที่ล้างแล้วผิวจะสะอาดหมดจดเห็นเนื้อพระชัดเจน แต่หากเนื้อรักจับแน่นติดกับผิวพระก็จะเช็ดล้างออกไม่หมด ยังคงมีคราบรักจับติดแน่นที่ผิวพระ ทำให้ดูกระดำกระด่างหรือรักหลุดออกเพียงบางส่วนเท่านั้น
สภาพของพระก่อนที่จะนำมาเคลือบรักแดงหรือรักดำก็มีส่วนสำคัญต่อการล้างรักออก หากพระที่จะเคลือบรักแห้งสนิทดีแล้วเมื่อเคลือบรักแล้วเนื้อปูนที่ผิวพระกับรักที่เคลือบจะไม่ประสานกันสนิทนัก เมื่อแห้งสนิทและผ่านกาลเวลาเป็นร้อยปีก็จะล้างคราบรักออกได้ง่ายและค่อนข้างหมดจด หากพระที่เคลือบยังไม่แห้งสนิทเมื่อเคลือบรักแล้วผิวพระและน้ำรักจะละลายประสานกันทำให้จับเกาะติดกันแน่น แม้จะผ่านกาลเวลาเป็นร้อยปีก็ไม่อาจจะล้างคราบรักออกได้หมดจด 
การป้องกันไม่ให้น้ำรักจับติดแน่นกับผิวพระนี้จะทาผิวพระด้วยน้ำรงค์หลังจากพระที่พิมพ์ไว้แห้งดีแล้ว 
น้ำรงค์เป็นยางไม้ชนิดหนึ่งมีสีเหลืองเข้ม มีสภาพเหนียวข้น จะเป็นตัวกั้นกลางระหว่างรักกับผิวพระจนเมื่อรักหลุดล่อนออกไปหรือถูกเช็ดออกจะเหลือคราบของน้ำรงค์ทำให้เห็นผิวพระเป็นสีเหลืองเข้ม แต่หากคราบรงค์หลุดจากผิวพร้อมคราบรักก็จะเห็นเนื้อพระเดิมได้ชัดเจน
สภาพผิวพระเดิมหลังจากพระแห้งดีแล้ว หากเป็นพระสมเด็จยุคต้นหรือยุคกลางผิวพระมักจะแตกลายงาหรือลายสังคโลกเมื่อพระแห้งสนิทและนำมาเคลือบรักแล้ว 
ภายหลังเมื่อล้างรักออกจะยังคงเห็นเนื้อรักแทรกในรอยปริแตกของผิวพระ ทำให้เห็นร่องรอยปริแตกชัดเจน ส่วนพระสมเด็จที่สร้างในยุคหลังหากเนื้อพระยังไม่แห้งสนิทที่เดียวเมื่อเคลือบรักแล้วน้ำมันตังอิ๊วที่ผสมอยู่ในเนื้อพระจะยังคงซึมออกมาที่ผิวพระและละลายเนื้อรักผสมกัน จนเมื่อพระแห้งสนิทจะมีสีดำหรือสีน้ำตาลเข้มแทรกที่ผิวบางๆ พระที่ล้างคราบรักแล้วจะเห็นผิวมีรอยแตกลายสังคโลกตื้นๆกระจายไปทั่ว
พระที่เช็ดล้างด้วยยาหม่องแล้วอาจจะปล่อยให้ยาหม่องระเหยแห้งไปเอง หรืออาจจะนำไปล้างน้ำสะอาดด้วยสบู่อ่อนๆเพื่อไล่คราบไขของยาหม่องออก นำพระสมเด็จที่ล้างน้ำแล้วมาเช็ดด้วยผ้าสะอาดเบาๆเพื่อซับหยดน้ำให้แห้ง เมื่อปล่อยทิ้งไว้สักครู่พระก็จะแห้งเห็นสภาพผิวพระเป็นไปตามธรรมชาติ
โดยใช้ไม้จิ้มฟัน(ไม้ไผ่)แซะขอบข้างของรักเบาๆ รักจะแตกกระเทาะหลุดล่อนออกมา เปิดให้เห็นเนื้อพระเกลี้ยงสะอาด หรืออาจจะเหลือบคราบรักติดอยู่บ้างก็ใช้วิธีล้างผิวด้วยยาหม่องต่อไปอีกครั้งหนึ่ง
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ กระเทาะผิวที่เคลือบรักแดง รักดำออก ยังมีคราบรักติดอยู่ที่ผิวบ้าง
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ สภาพผิวหลังจากล้างรักดำ รักแดงที่เคลือบออกให้เกลี้ยงขึ้น ยังคงมีร่องรอยคราบรักดำ รักแดงให้เห็น
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ หลังจากล้างคราบรักออกแล้ว เผยให้เห็นเนื้อพระสีขาว และพิมพ์ทรงชัดเจน
พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ หลังล้างรักที่เคลือบออก จะยังคงเห็นคราบน้ำรงค์สีเหลืองเคลือบที่ผิวบางๆ
วิธีล้างคราบรักบนผิวพระสมเด็จอีกวิธีหนึ่ง คือการใช้น้ำยาลอกสีที่มีขายในท้องตลาด วิธีการนี้ผู้เขียนทดลองทำตามมีผู้แนะนำวิธีทำโดยการใช้ไม้จิ้มฟันพันสำลีที่ส่วนปลายหรือคอตตอนบัด (cotton bud) จุ่มน้ำยาลอกสี แล้วค่อยๆทาบนผิวรักอย่างระมัดระวังไม่ให้เลอะ ทิ้งไว้สักห้าถึงสิบนาทีเพื่อให้เนื้อรักพองตัวหลุดลุ่ยออกจากเนื้อพระ จากนั้นจึงนำพระไปล้างน้ำเพื่อล้างคราบรักและน้ำยาที่ทาเคลือบไว้ให้หลุดออกไป วิธีการนี้ต้องระมัดระวังไม่ให้ผิวหนังส่วนใดสัมผัสกับน้ำยาลอกสีเพราะจะปวดแสบปวดร้อนได้ ควรสวมถุงมือพลาสติกขณะหยิบพระและระมัดระวังไม่ให้หลุดมือขณะล้าง หากคราบรักยังเหลืออยู่ก็ทำซ้ำใหม่ในส่วนที่ยังมีคราบรักติดอยู่จนผิวพระจะเกลี้ยง หากท่านใดจะใช้วิธีการนี้ควรพิจารณาเฉพาะเมื่อใช้การล้างรักด้วยยาหม่องไม่ได้ผลเพราะเนื้อรักจับติดที่ผิวพระแน่นมากเท่านั้น
สภาพความเด่นชัดของผิวพระก่อนและหลังการล้างคราบรัก ทำให้เห็นองค์พระแตกต่างกันได้

งานช่างลงรักปิดทองคำเปลว
งานช่างลงรักปิดทองคำเปลว หรือ อย่างที่คนส่วนมากเรียกสั้นๆ ว่า “ลงรักปิดทอง” คือ กระบวนการตกแต่งผิวภายนอก ของศิลปวัตถุ หรือ องค์ประกอบสำหรับงานสถาปัตยกรรมแบบไทยประเพณี ด้วยการลงรัก หรือ ทายางรัก แล้วปิดด้วยทองคำเปลวทับ ทำให้ผิวของศิลปวัตถุ หรือ องค์ประกอบสำหรับงานสถาปัตยกรรมบางสิ่ง เป็นสีทองคำเหลืองอร่าม และ เป็นมันวาวเหมือนหนึ่งว่าทำด้วยทองคำ อันเป็นความเชื่อโดยขนบนิยมในสังคมไทยมาแต่โบราณกาล
งานช่างลงรักปิดทองคำเปลว ได้ทำการที่เป็นงานปิดทองเป็น ๔ ลักษณะงานด้วยกัน คือ
๑. งานลงรักปิดทองทึบ
๒. งานลงรักปิดทองล่องชาด
๓. งานลงรักปิดทองล่องกระจก
๔. งานลงรักปิดทองลายฉลุ
งานลงรักปิดทองล่องชาด
งานลงรักปิดทองล่องชาด หมายถึง การปิดทองคำเปลว ลงบนงานศิลปวัตถุประเภทต่างๆ เช่น ปูนปั้น ไม้แกะสลัก ซึ่งมักแสดงออกในลักษณะลวดลายตกแต่งครุภัณฑ์ ยานพาหนะ หรือ องค์ประกอบสถาปัตยกรรมแบบไทยประเพณี ซึ่งในส่วนที่เป็นลวดลายก็ดี รูปภาพแทรกระหว่างลวดลายก็ดี จะได้รับการปิดทองคำเปลว ซึ่งดำเนินการด้วยวิธีการปิดทองทึบ แต่จะมีลักษณะต่างกันตรงที่มีการ “ล่องชาด” ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของงานนี้
คำว่า “ล่องชาด” นี้มาแต่คำว่า “ล่อง” คำหนึ่งกับ “ชาด” อีกคำหนึ่ง “ล่อง” หมายถึง รอยลึกต่ำลงไประหว่างผิว พื้นปรกติ ในกรณีนี้ หมายถึง ล่องที่ได้รับการขุดควักลงไป ให้ต่ำอยู่ระหว่างช่องไฟของลวดลาย หรือ พื้นหลังที่ดูเหมือนต่ำลงไปในงานปั้นปูน เน้นลวดลายให้นูนสูงขึ้นจากพื้นหลังนั้น ส่วนคำว่า “ชาด” หมายถึง วัตถุสีแดงชนิดหนึ่ง ใช้ทำเป็นสีสำหรับเขียน หรือ ระบายคำว่า “ล่องชาด” ในลักษณะของงานปิดทองล่องชาด อาจมีความหมายเป็นทั้งคำนาม และคำกิริยา ดังนี้
งานลงรักปิดทองล่องชาดนี้ ทำขึ้นด้วยความประสงค์ให้สีแดงที่ใช้ทาลง หรือ ถมลงในส่วนที่เป็นล่องระหว่างลวดลาย หรือช่องไฟระหว่างสิ่งที่ทำขึ้น ในลักษณะงานปูนปั้น งานไม้หรือหินแกะสลัก ดูเด่นเห็นกระจะขึ้นจากพื้นที่ เป็นล่องลึกต่ำ หรือ พื้นที่รองรับอยู่เบื้องหลังนั้นนั่นเอง
อนึ่ง การใช้สีชาด หรือ สีแดงชาดทาลง หรือถมลงในล่องนี้ เป็นไปตามขนบนิยมและประเพณีนิยมว่า “สีแดง” เป็นสีที่มีความหมายถึง ความสว่าง ความสุกใส ควรใช้ควบคู่กับสีทอง ซึ่งหมายถึง ความรุ่งเรืองจึงเรียกกันว่า “ลงรักปิดทองล่องชาด” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “ล่องชาด”
http://www.changsipmu.com/lacquering_p03.html

 

**********************************************************************

สมเด็จ7ชั้น

* พระสมเด็จวัดระฆังลงรักปิดทอง พิมพ์เชียงแสน (พระเจ้าเก้าตื้อ มีเงินล้นฟ้า) พระสมเด็จวัดระฆัง ปิดทองล่องชาด ลงรักปิดทอง การลงรักปิดทองของพระสมเด็จวัดระฆังมีหลายรูปแบบ ถ้าเป็นของทางวังหลวงหรือวัดระฆัง ส่วนใหญ่จะใช้รักจีนสีแดงบางองค์ก็ปิดทองไว้ชั้นบน บางองค์อาจจะมีเพียงบางส่วนที่ปิดทอง ทองรักชาดที่มีการลงรักดำและลงชาดสีแดงและปิดทอง พระชุดนี้จะมีความสวยงามของการลงรัก ส่วนใหญ่ชาดแดงจะลงในส่วนองค์พระ เลยเห็นทองรักชาดเป็น 3 สี พระบางองค์เมื่อลงรักแล้วจะทาน้ำทอง เป็นวิธีการของช่างวังหลวง การรักษาองค์พระจึงมีหลายรูปแบบ บางองค์ลงเฉพาะรักอย่างเดียวหนาบ้างบางบ้าง พระบางชุดเมื่อลงรักปิดทองแล้วจะมีการเก็บรักษาไว้ในไหแล้วฝังดินหรือบรรจุกรุเพื่อการสืบทอดพระพุทธศาสนาหรือการอื่นที่ไม่ได้เปิดเผย พระบางองค์จะมีคราบดินกรุปกคลุมทับผิวพระในส่วนบนของรักและทอง พระสมเด็จวัดระฆังมีการสร้างไว้มาก ไม่มีหลักฐานที่แน่นอน  การแตกหรือหลุดร่อนของรักก็แตกต่างกันไปไม่ได้ตายตัวที่จะต้องให้เหมือนกันทุกองค์
        พระสมเด็จที่ลงรักปิดทองและลงกรุข้อมูลไม่ชัดเจน เพราะเกี่ยวกับผลประโยชน์ แต่ถ้าพิจารณาถึงพิมพ์ทรงเนื้อพระ มวลสาร ธรรมชาติกาลเวลา ก็ไม่อาจปฎิเสธได้ว่าไม่ใช่พระที่องค์สมเด็จพุฒาจารย์โตเป็นผู้สร้าง

บทความ ธรรมมณีแห่งเสน่ห์Amulet

โทร: 097-129-7060

สถานะ: โทรถาม