จำนวนคนอ่านล่าสุด 718 คน

莲花针头,无论是缅甸,孟邦和缅甸。พระบัวเข็มแบบพม่า พระเศียร ทั้งแบบมอญและพม่าThe lotus needle head, both Burmese, Mon and Burmese.


莲花针头,无论是缅甸,孟邦和缅甸。พระบัวเข็มแบบพม่า พระเศียร ทั้งแบบมอญและพม่าThe lotus needle head, both Burmese, Mon and Burmese.

莲花针头,无论是缅甸,孟邦和缅甸。พระบัวเข็มแบบพม่า พระเศียร ทั้งแบบมอญและพม่าThe lotus needle head, both Burmese, Mon and Burmese.

莲花针头,无论是缅甸,孟邦和缅甸。พระบัวเข็มแบบพม่า พระเศียร ทั้งแบบมอญและพม่าThe lotus needle head, both Burmese, Mon and Burmese.


รายละเอียด :

莲花针头,无论是缅甸,孟邦和缅甸。

พระบัวเข็มแบบพม่า พระเศียร ทั้งแบบมอญและพม่า

The lotus needle head, both Burmese, Mon and Burmese.

บทความ ธรรมมณีแห่งเสน่ห์ 

พระบัวเข็มแบบพม่า พระเศียร ทั้งแบบมอญและพม่า ทำเป็นรูปใบบัวคลุมศีรษะ แต่แบบพม่าจะดัดแปลงใบบัวเป็นเมาฬียอดตูมสูงกว่าของมอญ 
พระบัวเข็มนี้ถือกันว่าเป็นพระที่มีความศักดิ์สิทธิ์ อภินิหาร ในทางชนะศัตรูหมู่มาร และในทางบังเกิดความอุดมสมบูรณ์ ลาภสักการะ ความร่ำรวยอย่างยิ่งแก่ผู้เคารพบูชาซึ่งรูปลักษณะการปฏิบัติบูชาก็แปลกแตก ต่างจากพระอื่น

พระบัวเข็ม” คือ รูปพระอุปคุตเถระ เรื่องราวของพระบัวเข็มไม่ค่อยปรากฏเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปในเมืองไทย เหมือนพระพุทธรูปองค์อื่นๆ เพราะพระบัวเข็มเข้ามาแพร่หลายในประเทศไทยเมื่อปลายสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งนี้ เพราะเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะทรงผนวช ทรงสนิทสนมกับพระภิกษุชาวมอญมาก โดยทรงศึกษาประวัติพระพุทธศาสนา และพระธรรมวินัย จากพระภิกษุชาวมอญทรงแตกฉานในพระธรรมวินัยทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก และด้วยการที่ทรงติดต่อคุ้นเคยกับพระภิกษุชาวมอญมาโดยตลอด
เมื่อพระภิกษุชาวมอญเข้าเฝ้าที่วัดบวรนิเวศฯ ครั้งใด ก็มักนำพระบัวเข็มเข้ามาถวายอยู่เนืองๆ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบประวัติความเป็นมาของพระบัวเข็ม มากกว่าบุคคลใดในสมัยนั้น จนถึงทรงยอมรับพระบัวเข็มเข้าในพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ (พิธีขอฝน) พระบัวเข็มนี้ถือกันว่าเป็นพระที่มีความศักดิ์สิทธิ์ อภินิหาร ในทางชนะศัตรูหมู่มาร และในทางบังเกิดความอุดมสมบูรณ์ ลาภสักการะ ความร่ำรวยอย่างยิ่งแก่ผู้เคารพบูชาซึ่งรูปลักษณะการปฏิบัติบูชาก็แปลกแตก ต่างจากพระอื่น
การสร้างรูปเคารพของพระบัวเข็มนั้นมีรูปลักษณะที่แตกต่างกันอยู่มาก ตามแต่ผู้สร้างจะคิดประดิษฐ์รูปลักษณะตามประวัติแล้ว จัดสร้างขึ้นในอากัปกิริยาตามอิทธิปาฏิหาริย์ของพระอุปคุตเหลือที่จะพรรณนาได้ เช่นเดียวกับการสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆ ทั่วไปเหมือนกัน เท่าที่สังเกตพระบัวเข็มในประเทศไทย แบ่งออกได้ 2 แบบ คือแบบมอญแบบหนึ่ง และแบบพม่าแบบหนึ่ง พระบัวเข็มทั้งสองแบบนี้คงอาศัยรูปแบบของพระบัวเข็มในอินเดียเป็นหลักสำคัญ แต่มาแก้ไขเปลี่ยนแปลงขึ้นตามความนิยมในประเทศมอญและพม่า
ดังนั้นเราจึงได้พบเห็นรูปของพระมหาเถระอุปคุตที่มีรูปลักษณะที่แตกต่างกันไปหลากหลายรูปแบบ แต่ก็มีสัญลักษณ์ของท่านอยู่ประการหนึ่ง นั่นก็คือ โดยที่ท่านจำพรรษาอยู่ ณ กลางสะดือทะเล จึงมักจะสร้างบนพระเศียรคลุมด้วยใบบัว โดยเฉพาะที่ฐานด้านหน้า ด้านหลัง และใต้ฐานจะทำเป็นรูป พญานาค กุ้ง หอย ปู ปลา เป็นสัตว์อยู่เฉพาะในน้ำซึ่งเป็นบริวารและเป็นสิ่งบอกถึงว่า พระองค์นี้คือ พระมหาเถระอุปคุต อันมี วิหารแก้วประดิษฐานอยู่ ณ กลางเกษียรสมุทร หรือ สะดือทะเล นั่นเอง

บางองค์ก็ทำเป็นปุ่มปม มีตุ่มนูนตามหน้าผาก หน้าอกและทั่วพระวรกาย นิยมเรียกว่า เข็ม มี 3 เข็ม 5 เข็ม 7 เข็ม และ 9 เข็ม เชื่อกันว่าแต่เดิมนั้น ตามตุ่มที่ฝังเข็มนั้นเป็นช่องที่บรรจุพระธาตุและพระบรมธาตุ กล่าวกันว่ายิ่งมากเข็มเท่าไหร่ก็ยิ่งดีเท่านั้น คนส่วนมากจึงมักจะนิยมแสวงหาพระบัวเข็มที่มีหลาย ๆ เข็ม พระอุปคุตของเขมรนิยมสร้างด้วยเนื้อสัมฤทธิ์โดยสร้างเป็นรูป พระอุปคุตนั่งอยู่ในเปลือกหอยหรือกระดองเต่า เข้าใจได้ว่าคงจะอุปมาจากตำนานที่ว่าพระอุปคุตได้บำเพ็ญธรรมอยู่ ณ สะดือทะเล ส่วนพระบัวเข็มของพม่านิยมแกะด้วยไม้ ซึ่งความเชื่อในการสร้างบูชาพระอุปคุต ก็เพื่อให้บังเกิดโชคลาภ และบันดาลความร่ำรวย ร่มเย็นเป็นสุข แล้ว ก็ยังเชื่อว่ามีอานิสงส์ทางด้านแคล้วคลาดจากอันตรายต่างๆทั้งปวง จึงมีการสร้างพระอุปคุตเพื่อบูชากันมาแต่ครั้งโบราณ

ประวัติพระอุปคุต (พระบัวเข็ม)

เชื่อกันตามประวัติ กล่าวว่าท่านเป็นบุตรของเศรษฐีของเมืองมถุรา ริมฝั่งแม่น้ำยมนา เกิดหลังพระพุทธองค์ปรินิพานแล้ว ๒๐๐ ปีแต่เนื่องจากบิดาได้เคยสัญญาก่อนที่จะมีบุตรต่อพระสาณวารี ว่าหากมีบุตรชายจะให้ออกบวช จนกระทั้งได้บุตรชาย (พระอุปคุต ) เมื่อถึงอายุบวชท่านก็ได้ออกบวชหลังจากออกบวชในบวรพระพุทธศาสนา พระอุปคุตได้บำเพ็ญธรรมตามรอยพระพุทธองค์และได้บำเพ็ญอยู่ใต้ท้องทะเล หรือสะดือทะเลจากนั้นไม่นาน ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ในครั้งนั้นพุทธศาสนาเสื่อมถอยลงเนื่องจาก มีกลุ่มชาวบ้านแฝงมาอาศัยผ้าเหลืองหากินทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่เสื่อมศรัทธาในพระศาสนา ในครั้งนั้นพระเจ้าอโศกมหาราช พระราชดำรัสที่จะชำระพระพุทธศาสนาให้บริสุทธิ์ ตามเจตนารมณ์ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่วางการดำเนินแนวทางไว้ให้ จึงทรงสร้างพระสถูปเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จำนวน 84,000 องค์ ครั้นบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเรียบร้อยแล้ว ทรงมีพระราชประสงค์จะจัดการฉลองสมโภชองค์พระมหาเจดีย์ ให้สมพระราชศรัทธา โดยจะจัดฉลองเป็นเวลาถึง 7 ปี 7 เดือน 7 วัน ทรงเห็นว่า งานสมโภชพระมหาธาตุนี้เป็นงานใหญ่ เกรงว่า จะมีอันตรายและมีปัญหาต่างๆพระองค์ทรงขอให้คณะสงฆ์หาทางช่วยป้องกันเหตุ ต่างๆโดยขอให้คัดเลือกพระเถระผู้สามารถมาช่วยป้องกันภัยอันตราย เมือพระเถระเข้าญาณพิจารณา ก็ทราบด้วยญาณของตนว่า เนื่องในงานสมโภชพระมหาเจดีย์ครั้งนี้ภัยจะเกิดขึ้น ต่างก็หาวิธีแก้ไขต่างๆ จึงได้ทำการปรึกษากับคณะสงฆ์ พระสงฆ์ทั้งปวงจึงกล่าวว่า “พระอุปคุตที่จำศีลอยู่กลางสะดือทะเล เป็นพระอรหันต์ที่มีฤทธิ์มากสามารถเนรมิตครอบแก้วคลุมตนไว้ ควรที่มหาบพิตรจะไปอารธนามาดูแลละป้องกันภัยต่างๆที่จะเกิดขึ้น”พระองค์ทรง ทราบความจึงขอให้คณะสงฆ์ ไปทำการอารธนา พระเถระทั้งหลายจึงให้พระภิกษุหนุ่ม 2 รูป ผู้ทรงอภิญญาสมาบัติไปอาราธนาพระอุปคุต ( ชื่อเต็มว่า พระกีสนาคอุปคุตมหาเถระ ) มาสู่ที่ประชุม พระภิกษุ 2 รูปนั้น จึงเข้าญานสมาบัติระเบิดน้ำลงไปหาท่านพระอุปคุตแล้วแจ้งให้ทราบว่า “บัดนี้คณะสงฆ์ทั้งหลายมีเถรบัญชาให้ข้าพเจ้าทั้งสองมาอาราธนาพระคุณท่านไป ร่วมการประชุมเพื่อปรึกษางานพระพุทธศาสนา” พระอุปคุตเถระทราบสังฆบัญชาเช่นนั้น คิดว่าจะต้องไปร่วมการประชุมในครั้งนี้ จะขัดคณะสงฆ์ไม่ได้ ต้องเคารพอำนาจแห่งหมู่สงฆ์ และงานนี้ก็เป็นงานพระพุทธศาสนา จากนั้นพระอุปคุตเถระจึงบอกภิกษุ 2 รูปนั้นว่า “ท่านจงกลับไปก่อนเถิด เราจะตามไปทีหลัง” พระภิกษุหนุ่ม 2 รูปนั้นกราบลาเดินทางล่วงหน้ามาก่อน พระอุปคุตจึงเข้าญาณสมาบัติมาถึงสำนักพระเถรานุเถระทั้งหลาย ก่อนภิกษุหนุ่ม 2 รูป พระสังฆ์เถระประชุมสงฆ์ จึงกล่าวแก่พระอุปคุตว่า “คณะสงฆ์จะลงทัณฑกรรมแก่ท่าน เพราะความผิดที่ท่านไม่มาร่วมสังฆ์ กรรม ทำอุโบสถ ฟังพระปาฏิโมกข์ร่วมกับคณะสงฆ์ “พระอุปคุตจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้ายินดีรับทัณฑกรรมที่คณะสงฆ์จะลงโทษ” พระสังฆ์เถระในที่ประชุมสงฆ์แล้วว่า “บัดนี้พระยาศรีธรรมาโศกราช ทรงปรารถนาจะทำการสมโภชพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมธาตุ 84,000 องค์ ที่ทรงสร้างไว้ในชมพูทวีปทั้งหมด ต้องใช้เวลาถึง 7 ปี 7 เดือน 7 วัน ให้สมพระราชศรัทธา แต่เกรงว่าการสมโภชนั้นจะไม่พ้นภัย เกรงพญามารจะขัดขวางทำลายไม่ให้พระราชพิธีสมโภชนั้นดำเนินไปด้วยดี พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ตรัสให้คณะสงฆ์ช่วยป้องกัน พระอุปคุต จึงถาม “พระคุณเจ้าทั้งหลายแจ้งมาว่า จะให้ข้าพเจ้าทำประการใด” พวกเราไม่มีใครสามารถจะช่วยได้ เห็นแต่ท่านผู้เดียวเท่า พระอุปคุตจึง ก้มลงกราบแล้วกล่าวว่า “ข้าพเจ้ายินดียอมรับทัณฑกรรม” เมื่อได้ผู้ป้องกันภัยอันตรายในการบำเพ็ญกุศลแล้ว คณะสงฆ์ โดยมี พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ เป็นประธาน จึงถวายพระพรให้ พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ๆ ทรงโสมนัสยิ่งนัก นั้นอีก แล้วมาเพื้อป้องกันภัยในครั้งนั้น จากนั้นข่าวการสมโภชพระมหาธาตุก็ได้กระจายไปทั้ว ครั้งต่อมาพระองค์ทอดพระเนตรเห็นองค์พระอุปคุตมหาเถระแล้วก็หนักพระทัย เพราะท่านมีร่างกายผ่ายผอมและทรงเล็กมาก พระองค์จึงทดสอบโดยเมื้อครั้นรุ่งเช้าทอดพระเนตรเห็นพระอุปคุตเดินไปบิณฑบาต ทรงมีพระราชบัญชาสั่งให้พนักงานเลี้ยงช้าง ปล่อยช้างตกมันไล่พระอุปคุตเพื่อทดสอบ พระอุปคุตมหา เถระเห็นช้างวิ่งไล่มาข้างหลัง จึงเข้าญาณสมาบัติอธิษฐานจิตให้ช้างตัวนั้นแข็งประดุจหิน ไม่อาจขยับเขยื้อนได้ พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ทอดพระเนตรเห็นดังนั้น จึงทรงขอขมาและทรงพอพระทัยยิ่งนัก เกิดความเคารพนับถือพระมหาเถระอุปคุตเป็นอันมาก ครั้นได้มงคลฤกษ์จึงเริ่มบุญพิธีสมโภชพระมหาเจดีย์ตามพระราชประสงค์ ครั้งพญามารรู้ข่าวจึงคิดจะหยุดงานสมโภช ตำนานกล่าวว่า พญามาร หรือ พญาวัสวดีมาราธิราช ซึ่งเป็นตนเดียวกับที่ขัดขวางพระพุทธองค์ครั้งบำเพ็ญเพียรก่อนที่จะตรัสรู้ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ คิดจะทำลายพิธีนั้น จึงแสดงอิทธิฤทธิ์ให้บังเกิดมหาวาตพายุอย่างร้ายแรง มีกำลังพัดมาประหนึ่งจะถล่มแผ่นดินให้ทลาย พระอุปคุตเถระเห็นอากาศวิปริตอย่างนั้นทราบชัดด้วยญาณอันประเสริฐของท่าน ว่า บัดนี้พญามารมาทำลายแล้ว ท่านจึงเข้าญาณสมาบัติโดยพลัน อธิษฐานให้เกิดเป็นลมเหมือนกัน แต่ลมของพญามารก็พ่ายแพ้ พญามารก็แผลงฤทธิ์ใหม่ เป็นลมกรด เป็นเพลิง เป็นทรายเพลิง เร่าร้อนด้วยไฟ และประการอื่นอีกหลายอย่างเพื้อทำลายพิธีฉลองสมโภชองค์พระมหาเจดีย์ จนพญามารเกิดโทสะแรงกล้าพยายามจะทำลายล้างพระมหาเถระ จึงปรากฏตัวเป็นพญามารเข้าไปทำร้าย พระอุปคุตมหาเถระเห็นว่า พญามารตนนี้มีแต่ความดุร้ายคอยทำลายแต่บุญกุศลต่างๆในบวรพระพุทธศาสนา รวมทั้งไม่มีความสำนึกในบาปต่างๆ จนพระอุปคุตได้เนรมิตสุนัขตายเน่าตัวหนึ่งมีน้ำหนองและหนอนไชออกมาแขวนคอพญา มารไว้แล้วอธิษฐานไม่ใครถอดออกได้ พญามารจึงซมซานไปหาท้าวโลกบาลทั้ง 4 ขอร้องให้ช่วยแก้สุนัขเน่าออกจากคอ ท้าวจตุมหาราชบอกว่า แก้ไม่ได้ พญามารจึงไปหาเทวดาองค์อื่น ๆ จนถึงท้าวมหาพรหม ๆ ก็ไม่สามารถจะช่วยแก้ได้ ท้าวมหาพรหมจึงพูดว่า “เราก็ช่วยท่านไม่ได้ ต้องลงไปขอขมาท่านพระอุปคุตมหาเถระ แล้วอ้อนวอนให้ท่านช่วยแก้” ดังนั้นพญามารจึงรำพันขึ้นว่า “พระรูปนี้เป็นเพียงสาวกของพระพุทธองค์เท่านั้นแต่ยังอวดดีมาทำร้ายเราได้ พระพุทธองค์ยังดีกว่าพระรูปนี้หลายเท่านัก ครั้งพระองค์ทรงตรัสรู้ ว่าเราจะทำร้ายเราก็สู้บารมีของท่านไม่ได้ต้องแพ้ภัยในครั้งนั้น แต่ถึงจะสาหัสเพียงใหน แต่ก็ไม่มีเลยที่พระองค์จะทรงกริ้วและประทุษร้ายตอบเรา” ด้วยเหตุนี้ พญามารจึงเลื่อมใสในพระบารมีของพระพุทธองค์ จึงได้อธิษฐาน ขอเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในอนาคตกาล ด้วยจิตหยังรู้ของพระอุปคุตจึงแจ้งแก่พญามารว่า เหตุนี้เป็นพุทธทำนายและให้พระอุปคุตมาทรมานท่านให้ละลดเลิกและระลึกถึงความ ดีของพระพุทธองค์และจะอธิษฐานจิตเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล..ท่านอย่าได้ โกรธเรา เราทำด้วยปราณี พระอุปคุตจึงคลายพันธนาการออกจากคอพญาวัสวดีมาร...

เรื่องราวของท่านพระอุปคุต มีปรากฏอยู่ใน พระปฐมสมโพธิกถา พระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ดังนั้นอาจมีการปรับปรุงแก้ไขข้อความเพื่อความเข้าใจบ้าง ด้วยเหตุดังกล่าว ชาวพม่ารามัญตลอดจนชาวไทยในภาคเหนือจึงพากันสร้างรูปพระมหาเถระอุปคุตไว้ สักการบูชา แต่ด้วยยังไม่มีใครเคยเห็น รูปลักษณ์แห่งพระมหาเถระอุปคุตมาก่อน จึงไม่มีมาตรฐานอันใดในการที่จะจัดสร้างรูปพระมหาเถระอุปคุต ต่างคนจึงได้สร้างรูปของพระองค์นี้ขึ้นมาตามจินตนาการและตามความรู้ความ สามารถในฝีมือการสร้างรูปพระมหาเถระอุปคุตของแต่ละคนขึ้นมา ดังนั้นเราจึงได้พบเห็นรูปของพระมหาเถระอุปคุตที่มีรูปลักษณะที่แตกต่างกัน ไปหลากหลายรูปแบบ แต่ก็มีสัญลักษณ์ของท่านอยู่ประการหนึ่ง นั่นก็คือ โดยที่ท่านจำพรรษาอยู่ ณ กลางสะดือทะเล จึงมักจะสร้างบนพระเศียรคลุมด้วยใบบัว โดยเฉพาะที่ฐานด้านหน้า ด้านหลัง และใต้ฐานจะทำเป็นรูป กุ้ง หอย ปู ปลา เป็นสัตว์อยู่เฉพาะในน้ำซึ่งเป็นบริวารและเป็นสิ่งบอกถึงว่า พระองค์นี้คือ พระมหาเถระอุปคุต อันมี วิหารแก้วประดิษฐานอยู่ ณ กลางเกษียรสมุทร หรือ สะดือทะเล นั่นเอง บางองค์ก็ทำเป็นปุ่มปม มีตุ่มนูนตามหน้าผาก หน้าอกและทั่วพระวรกาย นิยมเรียกว่า เข็ม มี 3 เข็ม 5 เข็ม 7 เข็ม และ 9 เข็ม เชื่อกันว่าแต่เดิมนั้น ตามตุ่มที่ฝังเข็มนั้นเป็นช่องที่บรรจุพระธาตุและพระบรมธาตุ กล่าวกันว่ายิ่งมากเข็มเท่าไหร่ก็ยิ่งดีเท่านั้น คนส่วนมากจึงมักจะนิยมแสวงหาพระบัวเข็มที่มีหลาย ๆ เข็ม พระอุปคุตของเขมรนิยมสร้างด้วยเนื้อสัมฤทธิ์โดยสร้างเป็นรูป พระอุปคุตนั่งอยู่ในเปลือกหอยหรือกระดองเต่า เข้าใจได้ว่าคงจะอุปมาจากตำนานที่ว่าพระอุปคุตได้บำเพ็ญธรรมอยู่ ณ สะดือทะเล ส่วนพระบัวเข็มของพม่านิยมแกะด้วยไม้ ซึ่งความเชื่อในการสร้างบูชาพระอุปคุต ก็เพื่อให้บังเกิดโชคลาภ และบันดาลความร่ำรวย ร่มเย็นเป็นสุข แล้ว ก็ยังเชื่อว่ามีอานิสงส์ทางด้านแคล้วคลาดจากอันตรายต่างๆทั้งปวง จึงมีการสร้างพระอุปคุตเพื่อบูชากันมาแต่ครั้งโบราณ

การตั้งบูชา นิยมการตั้งบูชาบนฐานรองรับ อยู่กลางภาชนะใส่น้ำ เป็นการจำลองคล้ายกับท่านจำพรรษาอยู่ในมหาสมุทร แล้วใช้ดอกมะลิลอยในน้ำบูชา และต้องตั้งต่ำกว่าพระพุทธ เนื่องจากเป็นพระอรหันต์ สาวกของพระพุทธเจ้า 
ขอบคุณที่มา : ประวัติพระอุปคุต

โทร: 

ราคา: 0 บาท

สถานะ: เปิดขาย