หัวข้อ โพสโดย ผู้เข้าชม
พระกริ่งปวเรศ กะไหล่ทองคำแท้AU10.33%+- พิมพ์ สมบูรณ์พูนสุข พระศกขดเมฆ จีวรขดเมฆ ใต้ฐาน พระราชวัง กริ่งดัง พระสมเด็จ-พระกริ่ง 438
พระปิดตาพระภควัมบดี ถึง พระปิดตา หน้าแรก » บทความ » พระภควัมบดี ถึง พระปิดตา      "พระปิดตา เป็นชื่อเรียกขานพระเครื่องอีกประเภทหนึ่ง ที่มีพุทธศิลปะแปลกแตกต่างอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งแสดงถึงนัยทางธรรมะ และกลายเป็นความโดดเด่นจนได้รับความนิยมอย่างสูง โดยเฉพาะในแวดวงพระเครื่อง”      พุทธลักษณะโดยทั่วไปของ ‘พระปิดตา’ องค์พระจะค่อนข้างอวบอ้วน ยกพระหัตถ์ ขึ้นปิดพระพักตร์ บางสำนักก็จะทำเป็นรูปมือเพิ่มอีก 2 ข้าง เอื้อมไปปิดทวารด้านล่าง ซึ่งในวงการเรียก "โยงก้น" โดยคติการสร้างพระปิดตาหรือปิดทวาร ที่มีการจำลองเป็นพระอ้วนพุงพลุ้ยนั้น ได้ต้นเค้าจากเรื่องราวของ พระมหาสังกัจจายนะ หรือ พระภควัมบดี หนึ่งในพระอัครสาวกองค์สำคัญขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า      พระมหาสังกัจจายนะ เกิดในวรรณะพราหมณ์ ณ กรุงอุชเชนี มีผิวกายประหนึ่งทองคำมาตั้งแต่กำเนิด จึงได้นามว่า "กาญจน" และได้อุปสมบทโดยเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา (พระพุทธเจ้าทำการบวชให้) ท่านมีความเป็นเลิศทางการย่อพระธรรมคัมภีร์ให้สั้นลง และอธิบายความหมายให้ผู้ฟังเข้าใจได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ท่านยังมีรูปร่างและผิวกายงดงามมากจนได้ชื่อว่า "พระภควัมปติ" อันมีความหมายว่า ผู้มีความงามละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า และด้วยความงดงามแห่งรูปกายนี้เอง ก่อให้เกิดความหลงใหลคลั่งไคล้จากฝูงชนทั้งชายหญิงจนเกิดเรื่องพิพาทกันไม่รู้จักหมดจักสิ้น ทำให้ตัวท่านเองเกิดสลดสังเวชในใจ พิเคราะห์ดูว่าการมีรูปกายงดงาม ก่อให้เกิดทุกข์มากมาย จึงตั้งสมาธิอธิษฐานเปลี่ยนสรีระรูปร่างให้กลายเป็นร่างต่ำเตี้ย พระอุทรพลุ้ย ศีรษะใหญ่ ขาสั้น อันเป็นลักษณะของ "พระสังกัจจายน์" ที่เห็นในปัจจุบัน แม้จะอธิษฐานเปลี่ยนสรีระแล้ว ผลแห่งกุศลในอดีตชาติก็ยังส่งให้เป็นที่รักใคร่นิยมยินดี มีแต่ผู้ให้ลาภสักการะสรรเสริญตลอดมามิมีขาด      ด้วยความนิยมในพุทธสาวกองค์นี้ โบราณาจารย์จึงได้จำลองลักษณะแห่งพระภควัมบดีในรูปพระเครื่องศักดิ์สิทธิ์อันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น โดยแสดงความหมายที่สำคัญของพระภควัมปติ อันเป็นผู้มีความละม้ายเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าในหลายลักษณะ อาทิ พระสังกัจจายน์ อันเป็นที่รักใคร่นิยมยินดีเปี่ยมไปด้วยลาภสักการะสรรเสริญ, พระปิดตาทวารทั้ง 9 อันเป็นการปิดกั้นอาสวะกิเลสแห่งทวารเข้าออกทั้ง 9 ของร่างกาย และ พระปิดตามหาอุด อันเป็นการป้องกันสรรพภยันตรายทั้งหลายทั้งปวง เป็นต้น      สำหรับสยามประเทศ การสร้าง “พระปิดตา” เริ่มต้นในช่วงอยุธยาตอนปลาย จากหลักฐานที่พบพระปิดตายุคแรกเป็นเนื้อโลหะ ได้แก่ พระปิดตากรุวัดท้ายย่าน อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท ต่อมาจึงมีการสร้างพระปิดตาเนื้อผงคลุกรักและพระปิดตาอื่นๆ เช่น พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี      พระปิดตา มาเริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายตั้งแต่ตอนต้นยุครัตนโกสินทร์เรื่อยมา มีพระเกจิอาจารย์หลายสำนักพากันจัดสร้างพระปิดตาขึ้นและได้รับความนิยมไปทั่ว เช่น พระปิดตาวัดพลับ (วัดราชสิทธาราม) พระปิดตา วัดหนัง, พระปิดตา วัดทอง, พระปิดตาหลวงปู่ศุข, พระปิดตาแร่บางไผ่วัดโมลี, พระปิดตาหลวงปู่ยิ้ม ฯลฯ      ลักษณะเด่นของพระปิดตานั้น นับเป็นพระเครื่องที่แสดงถึง "นัย" หรือ "ปริศนาธรรม" แห่งงานพุทธศิลปะอย่างโดดเด่น คือ การปิดทวารหรือทางเข้าทางออกแห่งอาสวะกิเลสทั้งหลาย ซึ่งมีอยู่ 9 ทางในร่างกายของมนุษย์ อันได้แก่ ตา 2 จมูก 2 หู 2 ปาก 1 รวมทั้งช่องทางขับถ่ายด้านหน้าและด้านหลังอีก 2 รวมเป็น “ทวารทั้งเก้า” เป็นปริศนาธรรมที่กั้นกิเลสจากภายนอกไม่ให้เข้ามาสู่ภายใน เพื่อจุดหมายแห่งการปฏิบัติกรรมฐาน ซึ่งโบราณจารย์ที่สร้าง พระปิดตา (หรือปิดทวาร) ในอดีตจะเป็นพระภิกษุที่ขึ้นชื่อลือเลื่องทางวิปัสสนาธุระทั้งสิ้น หากมองในแง่ความสำคัญทางการเมืองการปกครองก็จะพบว่า อำนาจของภิกษุสงฆ์ไม่ได้จำกัดอยู่ใน "พุทธจักร" อย่างเดียว หากแต่ยังก้าวไปถึง "อาณาจักร" อีกด้วย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนในกรณี ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ที่สามารถเดินเข้าไปถาม เจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ถึงข่าวลือเรื่องการยึดอำนาจกลับจาก ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 และขอคำยืนยันว่าจะไม่เกิดเหตุดังกล่าว เป็นต้น ดังนั้น "พระปิดตา" จึงอาจถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของการประกาศตนไม่ยุ่งเกี่ยวกับ "อาณาจักร" เพื่อมิให้เกิดการถูกนำไปอ้างอิงหรือใช้เป็นเครื่อง "ชี้นำ" ในชะตาของบ้านเมืองก็เป็นได้ครับผม   โดย อ.ราม วัชรประดิษฐ์ พระปิดตา 538
อุปครุต เนื้อสำริด พระปิดตา 511
พระปิดตา เนื้อสัมฤทธิ์เงิน พระปิดตา 734
พระรอด พล เมืองพระ 560
พระปิดตา ศิลป์ทวารวดี ทรงเครื่อง หล่อเต็มองค์ เนื้อสำริด ขนาด25×สูง40มม พระปิดตา 815
ช่อพระกริ่ง9องค์ พิมพ์วิมุตติสุข เก่าๆ พระสมเด็จ-พระกริ่ง 519
พระปิดตา บรรจุกริ่ง เนื้อสัมฤทธิ์เงิน กริ่งดังดี พระสมเด็จ-พระกริ่ง 578
พระกริ่ง พิมพ์ ฐานพญานาค หล่ออักขระหลังฐาน อุดกริ่งใต้ฐาน ปิดทองร่องชาติเก่าๆ..กริ่งดังดี พระสมเด็จ-พระกริ่ง 737
พระชัย รัชกาล เนื้อสัมฤทธิ์ พระสมเด็จ-พระกริ่ง 756
พระสมเด็จ สีดำ พระสมเด็จ-พระกริ่ง 463
พระกริ่ง จีน นั่งบัลลังล์ กริ่งดัง พล เมืองพระ 369
พระกริ่ง หลววพ่อใหญ่ วัดประเถท ปราจึนบุรี พล เมืองพระ 545
พระกริ่งปวเรศ ทรงจีน ฐานสูงฉลุพิมพ์..เนื้อสัมฤทธิ์ ปิดทองร่องชาต พร้อมเลี่ยม พระกริ่ง สยาม 579
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์..กริ่งดัง พระกริ่ง สยาม 416
พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูณ์พูนสุข นาคปรก..กริ่งดัง พระกริ่ง สยาม 723
พระกริ่งปวเรศ นาคปรก พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข..กริ่งดัง พระกริ่ง สยาม 826
พระกริ่งปวเรศ เนื้อชินเงิน โบราณ พิมพ์..ยุคต้น พระกริ่ง สยาม 828
พระยอดธง เนื้อสำริด สีทอง พระยอดธง 456
พระกริ่งปวเรศ ใต้ฐานพระราชวังจีน พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข พระศกขดเมฆ จีวรลายขดเมฆ กริ่งดัง กะไหล่เงิน พระกริ่ง สยาม 646
พระกริ่งปวเรศ ใต้ฐานมังกร พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข พระศกขดเมฆ จีวรขดเมฆ กริ่งดัง เนื้อสำริด พระกริ่ง สยาม 457
พระกริ่งปวเรศ ใต้ฐานมังกร พิมพ์สมบูรณ์พูนสุข พระศกขดเมฆ จีวรขดเมฆ เนื้อสัมริดผล กริ่งดัง พระกริ่ง สยาม 401
พระปิดตา ตุ๊กตา เนื้อเงิน พระปิดตา 616
พระปิดตา ยันต์น่อง เนื้อเมฆพัต ปิดทองร่องชาติ พระปิดตา 562
พระปิดตา เมฆพัตร ยันต์ยุ่ง ปิดทองร่องชาติ พระปิดตา 750