จำนวนคนอ่านล่าสุด 603 คน

เหรียญ จับโป๊ย หล่อฮั่น



รายละเอียด :

5458

เหรียญที่ระลึกในพระราชพิธีทรงผนวชสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามงกุฎราชกุมาร (เหรียญ ๑๘ อรหันต์ หรือจับโป้ยล่อหั่น) เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง ร.ศ. ๑๑๐ (พ.ศ. ๒๔๓๔)

****************************

เหรียญจับโป้ยล่อฮั่น

ประวัติ เหรียญจับโป้ยล่อฮั่น เป็นเหรียญที่ระลึก เหรียญจับโป้ยล่อฮั่น (หรือ ๑๘ อรหันต์) เป็นเหรียญที่ระลึก พิมพ์ทรงกลม มีขนาดใหญ่ ด้านหน้าจำลองรูป พระอรหันต์ ๑๘ องค์

เหรียญที่ระลึกไทยของไทย ที่ปรากฏรูป และเรื่องราวคติความเชื่อแบบ ตำนานจีน ตามหลักฐานที่มีการจัดสร้างขึ้นเป็น ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๔ นั้น เป็นเหรียญที่ระลึกที่ออกเนื่องในพระราชพิธีทรงผนวช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ซึ่งได้มีบันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งนั้นว่า    “เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๔ ทรงผนวช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ มกุฎราชกุมาร เปนการใหญ่ มีสมโภชแลแห่ไปทรงผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วฉลองที่นั่น แต่ในคืนนั้น เสด็จประทับแรม ณ พระพุทธรัตนสถานมนทิราราม บ่ายแห่งวันรุ่งขึ้น เสด็จมาประทับวัดนี้ เสด็จอยู่ที่พระปั้นหยา ออกพรรษาแล้ว ทรงถวายเทศนามหาชาติกัณฑ์สักกบัพพ์ โปรดให้สมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาภานุพันธ์วงศ์วรเดช ทำสำเภาเป็นกัณฑ์เทศน์ ทรงผนวชอยู่ ๕ เดือน ลาผนวช”

 เหรียญจับโป้ยล่อฮั่น (หรือ ๑๘ อรหันต์) เป็นเหรียญที่ระลึก พิมพ์ทรงกลม มีขนาดใหญ่ ด้านหน้าจำลองรูป พระอรหันต์ ๑๘ องค์ ตามคตินิยมในพระพุทธศาสนา แบบมหายานฝ่ายจีน หากเริ่มนับเรียงจากองค์แรก คือ องค์กลาง ที่ทำท่าต่อสู้อยู่กับมังกรแล้ว สังเกตท่วงท่า การแสดงตนกับอากัปกิริยา, การถือสิ่งของ (อาวุธ) มงคล จะได้ชื่อตามนี้ คือ


 

 องค์ที่ ๑ พระอรหันต์ปราบมังกร

 องค์ที่ ๒ ปินโฑล ภารัทวาช ใครสักการบูชาท่านจะมีกุศลมาก ลักษณะพิเศษของท่าน คือ ถ้ามีผู้ใดเลี้ยงพระ ท่านก็จะปลอมแปลงเป็นพระธรรมดา แอบเข้าไปร่วมฉันด้วย รูปของท่านเป็นคนผอมเห็นซี่โครง บ้างทำท่ายืน บ้างก็นั่ง มือถือหนังสือ  อีกมือถือบาตร หรือมือทั้งสองถือหนังสือ หรือวางบนเข่า ข้างกายด้านขวาอาจมีไม้เท้า บ้างครั้งพบรูปจำลองท่านในท่าหยิบบาตรก็มี

 องค์ที่ ๓  กนกวัจฉ แปลว่า ลูกโคทอง ท่านเป็นสาวกที่สามารถในบรรดาลัทธิธรรมต่างๆ สามารถนั่งเข้าฌานกลางลมฟ้าลมฝนได้ รูปของท่านเป็นผู้นั่งห้อยเท้าขวา มือขวาวางบนเข่า มือซ้ายวางที่ฝ่าเท้าซ้าย

 องค์ที่ ๔ กนกภารัทราช เป็นฤาษี๑ใน ๗ มหาฤาษีสถิตอยู่บุรพวิเทหทวีป พร้อมด้วยพระอรหันต์ ๖๐๐องค์ เป็นบริวาร รูปท่านั่งยกเท้าซ้ายขึ้นจากรองเท้า มือขวาวางบนเข่า มือซ้ายอยู่ข้างหู เป็นรูปคนแก่ผมยาว

 องค์ที่ ๕ สุปินฑ บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ผลเมื่ออายุ ๑๒๐ ปี รูปของท่านเป็นคนแก่นั่งสมาธิ มือถือหนังสือ บ้างก็ทำเป็นรูปนั่งธรรมดา มีบาตรและกระถางธูปวางอยู่ข้างๆ องค์

 องค์ที่ ๖ นกุล แปลว่า พังพอน สถิตอยู่ชมพูทวีป พร้อมด้วยผู้ติดตาม เป็นพระอรหันต์ ๘๐๐ องค์ ชอบอยู่โดดเดี่ยว รูปของท่าน เป็นรูปพระนั่งห้อยเท้า มีพังพอนอยู่ข้างๆ หรือไม่ก็เป็นรูปกบสามขาอยู่ใต้รักแร้ หรืออาจทำท่าแบมือทั้ง

 องค์ที่ ๗ ภัทร แปลว่า ประเสริฐ สถิตอยู่ตามทวีป พร้อมด้วยผู้ติดตามเป็นพระอรหันต์ ๙๐๐ องค์ บ้างว่าท่านเป็นพระญาติกับพระพุทธเจ้า บ้างว่ามีสกุลสูง รูปท่านมีเสืออยู่ข้างๆ แสดงว่าเป็นผู้ปราบเสือได้

 องค์ที่ ๘ กาลิก แปลว่า เวลาชั่วเวลา ท่านเป็นพระที่พระเจ้าพิมพิสารนับถือ รูปของท่านเป็นชายชราคิ้วยาวจรดดิน ต้องใช้มือถือเอาไว้ บ้างก็ทำท่าถือฉาบทั้งสองข้าง

 องค์ที่ ๙ วัชรบุตร สถิตอยู่บรรณทวีป พร้อมผู้ติตามพระอรหันต์ ๑,๑๐๐องค์ รูปของท่านนั่งห้อยเท้า ถือไม้เท้าขักขระ เป็นไม้เท้าที่บนยอดมีโลหะทำช่องเป็นวงกลม สำหรับร้อยแหวนโลหะ เมื่อเขย่าจะเกิดเสียง เวลาเดินทางในป่า จะทำให้สัตว์เลื้อยคลานได้ยินเสียงแล้วหนีไป

 องค์ที่ ๑๐ สุปากะ สถิตอยู่เขาคันธมาทย์ รูปของท่านนั่งห้อยเท้า มือถือพัด หรือทั้งสองมือถือประคำ

 องค์ที่ ๑๑ ปันถก แปลว่า ทาง ท่านเป็นพระที่ยอดเยี่ยมในปัญญา  สามารถแก้ความสงสัยในอรรถธรรมให้แจ่มแจ้งได้ รูปของท่านนั่งห้อยเท้าบนหลังสิงห์ บ้างนั่งห้อยเท้า และทรมานพระยานาคให้เข้าอยู่ในบาตร

 องค์ที่ ๑๒ นาคเสน สถิตอยู่บนเขาปาณพ พร้อมด้วยพระอรหันต์ติดตาม  ๑,๒๐๐ องค์ รูปของท่านนั่งห้อยเท้า มือซ้ายยกสูงเพียงหู มือขวาวางอยู่บนเข่า

 องค์ที่ ๑๓ อิงคท เป็นมหาสาวกองค์หนึ่ง ร่างกายสะอาดมาก มีกลิ่นหอม  รูปนั่งห้อยเท้า อ้วนสมบูรณ์ ร่าเริง แต่มีบ้างที่ทำท่านด้วยรูปคนแก่ถือไม้เท้า หรือไม่ก็ถือบาตร หรือถือหนังสือ

 องค์ที่ ๑๔ วันวาสี แปลว่าอยู่ป่า สถิตอยู่ภูเขาวัตสะ พร้อมด้วยหมู่พระอรหันต์ ติดตาม ๑,๔๐๐ องค์ รูปของท่านนั่งห้อยเท้าอยู่หน้าปากถ้ำ หลับตาเหมือนเข้าฌาน บ้างถือหนังสือ หรือไม่ก็ยกนิ้วทำมุทธา

 องค์ที่ ๑๕ อชิต แปลว่าชนะไม่ได้ รูปนั่งห้อยเท้า ชรา ขนคิ้วยาว มือวางบนเข่า ที่หน้าอกมีรูปหน้าคน (ซึ่งยังไม่ทราบความหมาย)

 องค์ที่ ๑๖ จูฑะปันถก แปลว่า คนทางเล็ก สถิตอยู่บนเขาเนมินธร พร้อมด้วยพระอรหันต์ติดตาม ท่านเป็นมหาสาวกองค์หนึ่ง เมื่อแรกอุปสมบทมีปัญญาโง่ทึบ แต่ต่อมาบรรลุอรหันต์ผล เชี่ยวชาญในวิชามโนมยิทธิ รูปนั่งห้อยเท้า มือขวาถือถ้วย มีนกกำลังจิบน้ำ

 องค์ที่ ๑๗ นนทิมิตร กล่าวกันว่า ท่านมีพระอรหันต์สถิตเป็นบริวารถึง ๑,๗๐๐องค์

 องค์ที่ ๑๘ ราหุล สถิตอยู่ปริยังคุทวีป พร้อมด้วยพระอรหันต์ติดตาม ๑,๑๐๐องค์ ท่านเป็นพระพุทธชิโนรส พระพุทธเจ้าตรัสว่า ท่านจะได้ไปเกิดเป็นเชษฐโอรสของพระอานนท์ ฉะนั้น จึงมีสมญานามว่า โอรสพระอานนท์ รูปท่านบ้างทำเป็นผู้มีศีรษะใหญ่โต ตาโต จมูกเป็นขอ บ้างก็เป็นรูปคนธรรมดา มือทั้งสองข้างอุ้มเจดีย์

 คติความเชื่อจีน ความเชื่อไทย ปัจจุบันถูกหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกันไปจนบางครั้งไม่อาจแยกว่า อย่างไหนเป็นแบบไทย อย่างไหนแบบอย่างจีน (ในหลายๆ เรื่อง) รวมทั้งเรื่องของพิธีกรรมบางอย่าง ในบางครั้งไม่อาจแยกทำเพียงอย่างเดียว แต่จำเป็นต้องมีทั้งสองพิธีกรรม จึงจะถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ตามพิธี

   เหรียญที่ระลึก "จับโป้ยล่อฮั่น" นับเป็นเหรียญที่นักนิยมสะสมเหรียญให้ความสำคัญมาก จนเป็นเหตุให้ต้องหามาไว้อีกเหรียญหนึ่ง ในหมวดของเหรียญที่ระลึกอันทรงคุณค่า ในรัชกาลที่ ๕  เพราะเป็นเหรียญที่มีความหมายในทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกเหรียญหนึ่งที่ หายากมาก

 จึงทำให้ค่านิยมของเหรียญนี้อยู่ที่หลักหลายแสนบาท...ในทุกวันนี้ ..."เพชร ท่าพระจันทร์" http://www.komchadluek.net/

โทร: 0953395801

ราคา: 0 บาท

หมวดพระ: พระยอดนิยมทั่วไป-พระเหรียญ

0 ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบ ไม่สามารถโพสบทความหรือแสดงความคิดเห็นได้ เข้าสู่ระบบ