จำนวนคนอ่านล่าสุด 337 คน

พระสมเด็จทรงครุต สีเทา หยดน้ำยาหาอายุพระ โดยประมาณ


พระสมเด็จทรงครุต สีเทา หยดน้ำยาหาอายุพระ โดยประมาณ

พระสมเด็จทรงครุต สีเทา หยดน้ำยาหาอายุพระ โดยประมาณ

พระสมเด็จทรงครุต สีเทา หยดน้ำยาหาอายุพระ โดยประมาณ

พระสมเด็จทรงครุต สีเทา หยดน้ำยาหาอายุพระ โดยประมาณ

พระสมเด็จทรงครุต สีเทา หยดน้ำยาหาอายุพระ โดยประมาณ

พระสมเด็จทรงครุต สีเทา หยดน้ำยาหาอายุพระ โดยประมาณ

พระสมเด็จทรงครุต สีเทา หยดน้ำยาหาอายุพระ โดยประมาณ


รายละเอียด :

6295

*****************************

ขอขอบคุณ เจ้าของบทความ

คุณ โชค เพิ่มพูน

มวลสารที่ใช้ผสมเป็นเนื้อพระของพระสมเด็จโต ประกอบด้วย
◾ผงพุทธคุณทั้ง ๕ อันได้แก่
◾ผงอทธิเจ มีอานุภาพในทางเมตตา มหานิยม
◾ผงปัตถมัง มีอานุภาพในทางคงกระพันชาตรี
◾ผงตรีนิสิงเห มีอานุภาพในทางมหาเสน่ห์
◾ผงพุทธคุณ มีอานุภาพในทางแคล้วคลาด เมตตามหานิยม
◾ผงมหาราช มีอานุภาพในทางมหาอำนาจ เสริมบารมี
ผงเหล่านี้สมเด็จโตเก็บรวบรวมจากผงปูนดินสอ (ดินสอพอง) ที่ท่านเขียนอักขระ ยันต์คาถาลงบนแผ่นกระดานชนวน และได้บริกรรมท่องคาถาในขณะที่ท่านเขียนจนจบแล้ว ก็จะลบอักขระ เลขยันต์ต่างๆ แล้วเริ่มต้นเขียนใหม่เช่นนี้ไปเรื่อยๆ ผงปูนที่ได้จากการลบกระดานชนวน จะเก็บสะสมไว้จนมากพอ ก็จะนำมาเป็นมวลสารหลักของการสร้างพระสมเด็จ
◾ไม้มงคลและว่านต่างๆ (ในบางพิมพ์) ได้แก่ ดอกสวาท ดอกกาหลง ดอกรักซ้อน ดอกกาฝากรัก ดอกชัยพฤกษ์ ดอกว่านนกคุ้ม ดอกว่านนางล้อม ดอกว่านเสน่ห์จันทน์ขาว , เสน่ห์จันทน์แดง ดอกว่านนางกวัก ว่านพระพุทธเจ้าหลวง ใบพลูร่วมใจ ใบพลูสองหาง ผงเกสรบัวทั้ง ๕ และเกษร ๑o๘◾ดินอาถรรพ์ ได้แก่ดินเจ็ดโป่ง ดินเจ็ดป่า ดินเจ็ดท่า ดินเจ็ดสระ ดินหลักเมือง ดินตะไคร่เจดีย์ ดินตะไคร่รอบโบสถ์ ดินตะไคร่ใบเสมา ดินกระแจะปรุงหอม
◾เปลือกหอย นำมาเผาและตำบดเป็นผงเนื้อปูน และผงเปลือกหอยที่ไม่ผ่านการเผา
◾ใบลานคัมภีร์ที่ชำรุด นำมาเผาและตำบดเป็นผง
◾อาหารและข้าวสุกที่แบ่งมาจากการฉัน ท่านจะนำไปตากแห้ง แล้วนำมาตำจนเป็นเม็ดเล็กๆ กล้วยน้ำหว้าสุก กล้วยหอมจันทน์ (รวมถึงผลขนุนสุก ที่ทำให้เนื้อพระมีสีอมเหลือง) ซึ่งจะนำมาตำรวมกับมวลสารต่าง ๆ เพื่อให้เนื้อพระมีความเหนียวเกาะติดกันในขณะที่กดพิมพ์พระ
◾น้ำพุทธมนต์จากแหล่งต่างๆ
◾น้ำผึ้ง น้ำอ้อยเคี่ยวจนเหนียว หรือน้ำมันตังอิ๊วในการสร้างพระสมเด็จยุคหลัง
◾เกสรและดอกไม้บูชาตากแห้ง นำมาตำบดเป็นผง
◾ผงถ่านที่ได้จากการเผาแม่พิมพ์ไม้ที่แตกชำรุด ผงถ่านก้านธูปและเถ้าธูปบูชาพระ
◾ผงตะไบพระรูปหล่อต่างๆ (ทองแดง เงิน ทอง) ผงเหล็กไหล
◾ผงที่ได้จากการตำบดพระดินเผา จากกรุกำแพงเพชรที่ชำรุดแตกหัก
◾พระธาตุแก้ว ขนาดเม็ดเล็กและเป็นผงพระธาตุ มีทั้งเนื้อแก้วใส สีขาวขุ่น สีอำพัน สีแดงใส สีแดงเข้ม
เนื้อพระสมเด็จ
เนื้อพระสมเด็จ หมายถึงส่วนประกอบหลัก และสีขององค์พระ (นอกเหนือจากผงวิเศษทั้ง ๕ และผงปูนเปลือกหอยเผา ที่ต้องมีทุกองค์) จัดแบ่งได้ดังนี้
◾เนื้อสีเขียวก้านมะลิ (ขาวอมเขียว) ซึ่งมีส่วนผสมของตะไคร่จากใบเสมา ผงใบลาน
◾เนื้อสีขาวอมเหลือง (สีดอกจำปา) ซึ่งมีส่วนผสมของข้าวสุก ผงเกสร อาจจะมีกล้วยหอมจันทน์ ขนุนเพิ่มด้วย
◾เนื้อสีขาวตุ่น (ขาวอมเทา) ซึ่งมีส่วนผสมของข้าวสุก ผงเกสร ผงเถ้าใบลาน
◾เนื้อสีขาวด้าน ซึ่งมีส่วนผสมของผงปูนเปลือกหอยที่ไม่เผา ทำให้เห็นเป็นจุดวาวทั่วองค์พระ
◾เนื้อสีขาวนวล ซึ่งมีส่วนผสมอื่น ๆ ที่ไม่ทำให้เนื้อปูนเปลี่ยนสีไปจากเดิม (รวมถึงเนื้อพระบางขุนพรหม ที่แก่ปูนเปลือกหอย และมีมวลสารน้อย)
◾เนื้อสีน้ำตาลไหม้ ผิวมะกอกสุก ซึ่งมีส่วนผสมของผงใบลานไหม้ และเกสร ๑o๘ จำนวนมาก ทำขึ้นครั้งเดียวขณะเป็นพระราชปัญญาภรณ์
◾เนื้อสีน้ำตาลอ่อน มีส่วนผสมของน้ำผึ้งเพิ่ม (พิมพ์ฐานแซม)
◾เนื้อผงใบลาน สีเทาดำ และสีน้ำตาลดำ ซึ่งมีขี้เถ้าใบลานทำให้เกิดสีเทา และผงใบลานที่ไหม้ทำให้เกิดสีน้ำตาล
◾เนื้อสีแดงกวนอู ซึ่งมีส่วนผสมของว่านสบู่เลือดเพิ่ม ทำครั้งเดียวเพื่อแจกทหารไปปราบเงี้ยว พ.ศ. ๒๔o๒ สีชมพูแดง มีเม็ดขาวกระจายทั่วทั้งองค์
◾เนื้อสีผงแป้งกระแจะเจิมหน้า ซึ่งมีส่วนผสมของเนื้อว่านต่าง ๆ และเพิ่มน้ำอ้อยเคี่ยว สีขาวอมเทา
◾เนื้อผงดำ ซึ่งใช้ถ่านที่ได้จากการเผาแม่พิมพ์ไม้ที่ชำรุดตำผสมเป็นหลัก จะเห็นเม็ดขาวกระจายทั่วทั้งองค์ (พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์ฐานแซม)
◾เนื้อเศษอาหาร จะใช้ข้าวสุกตำผสมกับกล้วยและน้ำอ้อยเคี่ยว ทำขึ้นสองครั้ง( หลายพิมพ์) มีสีดอกจำปา
พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ จัดแบ่งประเภทตามแม่พิมพ์ได้ ดังนี้
◾พิมพ์ชายจีวรบาง ชายจีวรเส้นเล็ก เป็นผืนบางระหว่างข้อศอก และหัวเข่าด้านซ้าย
◾พิมพ์ชายจีวรหนา ชายจีวรเส้นหนา ระหว่างข้อศอกและหัวเข่า ด้านซ้าย
◾พิมพ์ชายจีวรเส้นลวด ชายจีวรเส้นนูนเล็ก (เล็กกว่าเส้นบาง) ระหว่างข้อศอกและหัวเข่า ด้านซ้าย
ส่วนพิมพ์ที่มีเส้นผ้าทิพย์แซมอยู่ใต้ตัก ปัจจุบันจะเรียกว่า พิมพ์ใหญ่พระประธาน

2015-06-30

 

โทร: 0971297060

ราคา: 0 บาท

หมวดพระ: พระยอดนิยมทั่วไป-พระสมเด็จ

0 ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบ ไม่สามารถโพสบทความหรือแสดงความคิดเห็นได้ เข้าสู่ระบบ