จำนวนคนอ่านล่าสุด 3492 คน

พระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก ปิดทองร่องชาติ หลวงปู่ นาค วัดห้วยจรเข้


พระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก ปิดทองร่องชาติ หลวงปู่ นาค วัดห้วยจรเข้

พระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก ปิดทองร่องชาติ หลวงปู่ นาค วัดห้วยจรเข้

พระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก ปิดทองร่องชาติ หลวงปู่ นาค วัดห้วยจรเข้

พระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก ปิดทองร่องชาติ หลวงปู่ นาค วัดห้วยจรเข้

พระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก ปิดทองร่องชาติ หลวงปู่ นาค วัดห้วยจรเข้

พระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก ปิดทองร่องชาติ หลวงปู่ นาค วัดห้วยจรเข้

พระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก ปิดทองร่องชาติ หลวงปู่ นาค วัดห้วยจรเข้

พระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก ปิดทองร่องชาติ หลวงปู่ นาค วัดห้วยจรเข้

พระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก ปิดทองร่องชาติ หลวงปู่ นาค วัดห้วยจรเข้

พระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก ปิดทองร่องชาติ หลวงปู่ นาค วัดห้วยจรเข้

พระปิดตา เนื้อผงคลุกรัก ปิดทองร่องชาติ หลวงปู่ นาค วัดห้วยจรเข้


รายละเอียด :

6453

*********

องค์พระในรูปมิใช่องค์ในบทความ

*****************************

ธรรมมณีแห่งเสน่ห์Amulet

ถูกใจเพจแล้ว · 30 กรกฎาคม 2017 · 

พระปิดตาหลวงปู่นาค เนื้อผงคลุกรัก จารยันต์ วัด ห้วยจรเข้ นครปฐม
วัดห้วยจระเข้ อ.เมือง จ.นครปฐม เป็นที่อุบัติของสุดยอดพระปิดตาสายหนึ่ง อันเป็นที่แสวงหาของผู้คนทุกผู้ทุกนาม อีกทั้งสนนราคาก็แพงลิบลิ่ว ทราบกันแต่ว่าผู้สร้างได้แก่ "หลวงปู่นาค" แต่จะหาประวัติยืนยันถึงความเป็นมาของท่านก็ยากเย็นเหลือเกิน ด้วยผ่านเวลามาเนิ่นนาน ทราบความแต่จากคำบอกเล่าของท่านพระเลขานุการวัดห้วยจระเข้ คือ ท่านพระภิกษุพิทยา ปริญญาโณ ว่า
เท่าที่ทราบนามเดิมของหลวงปู่ชื่อ "นาค" ไม่ทราบนามสกุล รวมทั้งไม่ทราบนามผู้ให้กำเนิด ท่านได้อุปสมบทที่วัดพระปฐมเจดีย์ ได้รับฉายา "โชติโก" ไม่สามารถสืบนามพระอุปัชฌาย์และนามพระกรรมวาจาจารย์
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระเถระขึ้น 4 รูป เพื่อพิทักษ์รักษาองค์พระปฐมเจดีย์ตามธรรมเนียมโบราณ เฉกเดียวกับการตั้งพระเถระพิทักษ์พระบรมธาตุทั้ง 4 ทิศ สำหรับ "พระปฐมเจดีย์" นั้น ทรงแต่งตั้ง พระครูอุตตรการบดี ประจำทิศเหนือ พระครูปุริมานุรักษ์ ประจำทิศตะวันออก พระครูทักษิณานุกิจ ประจำทิศใต้ พระครูปัจจิมทิศบริหาร ประจำทิศตะวันตก ซึ่งหลวงปู่นาคได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรทางทิศตะวันตก ในขณะที่จำวัดอยู่ ณ วัดพระปฐมเจดีย์
ภายหลังหลวงปู่นาคได้ย้ายมาหาความสงบวิเวก และสร้างวัดขึ้นใหม่ในลำห้วยที่แยกตัวออกจากคลองเจดีย์พุทธบูชา พื้นที่ ต.บ่อพลับ (ต่อมาเปลี่ยนเป็น ต.นครปฐม) โดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2441 จนถึงปี พ.ศ.2443 จึงได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในสมัยรัชกาลที่ 5 มีชื่อเป็นทางการว่า "วัดนาคโชติการาม" แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า "วัดใหม่ห้วยจระเข้" โดยหลวงปู่นาคเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ท่านมีสหธรรมิกที่อายุอ่อนกว่าหลายปี ได้แก่ หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก และ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว หลวงปู่นาค ครองวัดอยู่ 11 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2441 จนมรณภาพด้วยโรคชราภาพในปี พ.ศ.2452
หลวงปู่นาคได้เริ่มสร้าง "พระปิดตามหาอุตม์ เนื้อเมฆพัด" ซึ่ง "เมฆพัด" เป็นโลหะที่ได้จากการเล่นแร่แปรธาตุตามตำราของไทยโบราณ เชื่อว่าเป็นธาตุกายสิทธิ์มีฤทธานุภาพในตัวเอง "เมฆพัด" เป็นส่วนผสมของตะกั่วและทองแดง มีกรรมวิธีการสร้างที่ซับซ้อน ในระหว่างหลอมต้องผสมตัวยาหลายชนิด อาทิ กำมะถัน ปรอท และว่านยา ได้แก่ไพลดำ ต้นหิงหาย ไม้โมกผา ขิงดำ กระชายดำ สบู่แดง และสบู่เลือด เป็นต้น ซัดเข้าไปในเบ้าหลอม พอสำเร็จ จะได้โลหะสีดำเป็นมันเงาเลื่อมพราย แต่เปราะและแตกง่าย
เป็นที่น่าสังเกตว่า ในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 พระเกจิ อาจารย์มักนิยมสร้างพระปิดตา อาจเกิดจากการเล่นแร่แปรธาตุที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกหนึ่ง และเป็นการแสดงออกถึงการไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองอีกหนึ่ง
การสร้างพระปิดตาของหลวงปู่นาคนั้น ปรากฏหลักฐานว่าท่านเริ่มสร้างปี พ.ศ.2432-2435 ในขณะที่อยู่ ณ วัดพระปฐมเจดีย์ ปรากฏมีทั้งเนื้อสัมฤทธิ์แก่ทอง เนื้อชินเงิน เนื้อชินเขียว ในระยะแรกพิมพ์ยังไม่มีมาตรฐาน จนภายหลังสามารถสรุปได้ว่านิยมเล่นกัน 3 พิมพ์ ได้แก่ พิมพ์ท้องแฟบ พิมพ์ท้องป่อง และ พิมพ์หูกระต่าย โดยยัง ไม่นับพิมพ์อื่นๆ ที่ท่านอาจจะสร้างไว้อีกต่างหาก
สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราที่พระองค์เสด็จพักแรม ณ พระราชวังสนามจันทร์ พร้อมสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็จะเสด็จกราบนมัสการหลวงปู่นาคเป็นประจำ ซึ่งมีตำนานกล่าวว่า หลวงปู่ได้ถวายพระปิดตาไว้บูชาคู่พระวรกาย อีกทั้งหลวงยกกระบัตรเจ้าเมืองราชบุรีในสมัยนั้น ก็มีเสียงร่ำลือว่าท่านพกพระปิดตาหลวงปู่คู่กายเช่นกัน
นอกจากนี้ สหายสหธรรมิกรุ่นน้องที่มีอายุน้อยกว่าถึง 35 ปี อันได้แก่ หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้วก็พก "พระปิดตาหลวงปู่นาค" ติดตัว เมื่อหลวงปู่บุญถึงแก่กรรม หลวงปู่เพิ่มได้เก็บรักษาบูชาต่อมาจนท่านมรณภาพ พระครูสิริชัยคณารักษ์ เจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้วรูปต่อมาก็ได้เก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑ์วัดกลางบางแก้ว มาจนถึงทุกวันนี้
พระปิดตาหลวงปู่นาคได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แฝงเร้นด้วยพลังพุทธคุณและกระบวนการเล่นแร่แปรธาตุตามตำรับโบราณ ผู้ใดบูชาติดตัวก็จะแคล้วคลาดจากอันตรายและมีเสน่ห์เมตตา มหานิยม พระปิดตาที่ท่านสร้างขึ้น มีพุทธลักษณะงดงาม ด้านศีรษะจะใหญ่ มือใหญ่ โยงก้นแต่ไม่ทะลุไปด้านหลัง มักปรากฏรอยจารของท่าน ราคาสูงเป็นหลักหลายแสน
หายากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทรอีก
หลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก ของวัดห้วยจระเข้ เป็นเกจิอาจารย์ชื่อดังในอดีต ผู้มีอาคมเข้มขลังแก่กล้าในทางแคล้วคลาด, คงกระพัน, มหาอุด ชื่อเสียงหลวงปู่นาคเป็นอมตะ จากอดีตถึงปัจจุบันก็ยังมิเสื่อมคลาย
หลวงปู่นาคเริ่มสร้างพระปิดตาวัดห้วยจระเข้ประมาณปี 2432-2435 สมัยที่อยู่ วัดพระปฐมเจดีย์ และสร้างต่อมาตอนอยู่วัดห้วยจระเข้ หลวงปู่นาคจะปลุกเสกเดี่ยว โดยระเบิดน้ำลงไปปลุกเสกใต้น้ำหน้าวัด โดยใต้น้ำจะสร้างแคร่ไม้ไว้ หลวงปู่นาคจะนั่งบนแคร่ไม้ ปลุกเสกและจารอักขระเสร็จเรียบร้อย แล้วปล่อยให้ลอยขึ้นมาข้างบนผิวน้ำ ลูกศิษย์ที่พายเรืออยู่ด้านบนก็จะช้อนเก็บให้หลวงปู่นาคนำไปปลุกเสกต่อที่วัดอีกครั้งหนึ่ง
หลวงปู่นาค เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดห้วยจระเข้จนถึงปี 2452 ก็มรณภาพด้วยโรคชรา
หลักการพิจารณาปิดตาวัดห้วยจระเข้
1. ปิดตาหลวงปู่นาควัดห้วยจระเข้มี 2 พิมพ์ คือ
พิมพ์หูกระต่ายและ
พิมพ์สะดือจุ่น
ทั้งสองแม่พิมพ์ จะมีแม่พิมพ์อีกหลายตัว ซึ่งศิลปะการแกะแม่พิมพ์จะใกล้เคียงกัน
2. ปิดตาหลวงปู่นาควัดห้วยจระเข้ สร้างจากแม่พิมพ์ประกบ ดังนั้นด้านข้างของพระปิดตาจึงมีตะเข็บเมื่อหล่อเสร็จแล้วช่างจะใช้ตะไบแต่งให้เรียบร้อย
3. รูปทรงของปิดตาหลวงปู่นาควัดห้วยจระเข้ทั้งสองพิมพ์
ทั้งพิมพ์หูกระต่ายและ
พิมพ์สะดือจุ่น
ลักษณะรูปทรงค่อนข้างกลมทั้งองค์เลย
4. ขนาดของปิดตาหลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ ขนาดความสูงประมาณ 2.2 เซนติเมตร ถึง 2.3 เซนติเมตร หน้าตัก คือหัวเข่าถึงหัวเข่า 1.6 เซนติเมตร
5. ด้านหน้าพระ ให้ดูแขนซ้ายพระทั้งสองพิมพ์ แขนซ้ายพระทั้งสองพิมพ์จะยกสูงกว่าเล็กน้อย ส่วนแขนขวาจะห้อยต่ำกว่าและที่สำคัญข้อศอกทั้งซ้ายและขวาจะโค้งมนและโค้งกว้าง ไม่เป็นมุมแหลมหรือมุมหักศอก
6. การแต่งนิ้วมือ พระปิดตาหลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ มี 2 รูปแบบ แบบแรกคือ ไม่แต่งนิ้วปล่อยไว้เป็นแผ่นเรียบ ๆ แบบที่สอง คือแบบแต่งนิ้ว ให้สังเกตทั้งสองพิมพ์ ช่างจะแต่งนิ้วเฉพาะปลาย ๆ นิ้วเท่านั้น ไม่ใช่แต่งนิ้วยาวลงมาเป็นเส้นตรง
7. ส่วนพิมพ์สะดือจุ่นต่างกันที่สะดือเท่านั้น นอกนั้นดูเหมือนกันหมด ให้สังเกตว่าจะเป็นสะดือที่ไม่กลม (ถ้าสะดือไม่สึก) สะดือจะลาดจากด้านบนลงมานูนสูงด้านล่าง
8. ด้านหลังพระ ส่วนใหญ่แต่งเป็น 2 แบบ คือหลังลอนและหลังเรียบ
หลังลอน ช่างได้แต่งกลางหลังเป็น 2 ลอน
หลังเรียบ ช่างได้แต่งกลางหลังให้เรียบและเว้าตรงเอวเท่านั้น
9. เหล็กจารอักขระที่หลวงปู่นาคจารบนองค์พระประมาณ 30-34 ตัว และที่จาร มากที่สุดคือ 30 ตัว ลายมือจารค่อนข้างสวยเป็นระเบียบ เส้นค่อนข้างลึก บางเส้นมีรอยปริแตก ให้สังเกตในร่องเส้นยันต์ จะมีความเก่าไม่มีความเงา และอยากจะให้ผู้อ่านหรือผู้สนใจควรจะจดจำลายมือให้ได้ จำได้บางตัวก็ยังดีเพราะลายมือของหลวงปู่นาคคือสิ่งที่สำคัญที่สุด ในการชี้ขาดว่าเก๊หรือแท้
10. ปิดตาหลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ สร้างด้วยเนื้อเมฆพัด เป็นเนื้อหลัก เนื้อเมฆพัดของหลวงปู่นาคจะผสมกับโลหะอื่น ๆ ด้วย เช่น ตะกั่ว จึงทำให้มีน้ำหนักมากกว่าเมฆพัดล้วน ๆ และเมื่อวางไว้บนมือ จะมีความรู้สึกหน่วง ๆ มือ และบางองค์จะพบเม็ดทองแดงอยู่บนพื้นผิวพระ ลักษณะจะเป็นเม็ดกลม ๆ เล็ก ๆ เหล็กจารอักขระที่หลวงปู่นาคจารบนองค์พระประมาณ 30-34 ตัว และที่จาร มากที่สุดคือ 30 ตัว ลายมือจารค่อนข้างสวยเป็นระเบียบ เส้นค่อนข้างลึก บางเส้นมีรอยปริแตก ให้สังเกตในร่องเส้นยันต์ จะมีความเก่าไม่มีความเงา และอยากจะให้ผู้อ่านหรือผู้สนใจควรจะจดจำลายมือให้ได้ จำได้บางตัวก็ยังดีเพราะลายมือของหลวงปู่นาคคือสิ่งที่สำคัญที่สุด ในการชี้ขาดว่าเก๊หรือแท้
11. พระปิดตาหลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ นอกจากจะสร้างด้วยเนื้อเมฆพัดแล้วยังมีสร้างด้วยเนื้อตะกั่วล้วน ๆ ก็มี คิดว่าเป็นเนื้อลองพิมพ์ ส่วนที่สร้างเป็นเนื้อสัมริดมีน้อย และค่อนข้างหายากมาก
หลักการพิจารณาปิดตาหลวงปู่นาค วัดห้วยจระเข้ คงเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้มีบุญที่สนใจสายพระปิดตาในการประกอบการพิจารณาเบื้องต้น
https://plus.google.com/107096423686116093823/posts/3efWpPjep8i
https://plus.google.com/107096423686116093823/posts/iDThQMJVnqu

โทร: 0971297060

โทร: 0971297060

ราคา: 0 บาท

หมวดพระ: พระยอดนิยมทั่วไป-พระปิดตา-พระขุนแผน

0 ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบ ไม่สามารถโพสบทความหรือแสดงความคิดเห็นได้ เข้าสู่ระบบ