จำนวนคนอ่านล่าสุด 155 คน

พระกริ่ง ทรงจีน ใต้ฐาน นางรำ(เมขลา ล่อแก้ว) เนื้อสัมฤทธิ์ กับดำบางจุด กริ่งดัง ก่อนปี2500


พระกริ่ง ทรงจีน ใต้ฐาน นางรำ(เมขลา ล่อแก้ว) เนื้อสัมฤทธิ์ กับดำบางจุด กริ่งดัง ก่อนปี2500

พระกริ่ง ทรงจีน ใต้ฐาน นางรำ(เมขลา ล่อแก้ว) เนื้อสัมฤทธิ์ กับดำบางจุด กริ่งดัง ก่อนปี2500

พระกริ่ง ทรงจีน ใต้ฐาน นางรำ(เมขลา ล่อแก้ว) เนื้อสัมฤทธิ์ กับดำบางจุด กริ่งดัง ก่อนปี2500

พระกริ่ง ทรงจีน ใต้ฐาน นางรำ(เมขลา ล่อแก้ว) เนื้อสัมฤทธิ์ กับดำบางจุด กริ่งดัง ก่อนปี2500

พระกริ่ง ทรงจีน ใต้ฐาน นางรำ(เมขลา ล่อแก้ว) เนื้อสัมฤทธิ์ กับดำบางจุด กริ่งดัง ก่อนปี2500

พระกริ่ง ทรงจีน ใต้ฐาน นางรำ(เมขลา ล่อแก้ว) เนื้อสัมฤทธิ์ กับดำบางจุด กริ่งดัง ก่อนปี2500

พระกริ่ง ทรงจีน ใต้ฐาน นางรำ(เมขลา ล่อแก้ว) เนื้อสัมฤทธิ์ กับดำบางจุด กริ่งดัง ก่อนปี2500

พระกริ่ง ทรงจีน ใต้ฐาน นางรำ(เมขลา ล่อแก้ว) เนื้อสัมฤทธิ์ กับดำบางจุด กริ่งดัง ก่อนปี2500

พระกริ่ง ทรงจีน ใต้ฐาน นางรำ(เมขลา ล่อแก้ว) เนื้อสัมฤทธิ์ กับดำบางจุด กริ่งดัง ก่อนปี2500


รายละเอียด :

14673

-----------------------------

บทความจาก

วิถีมีเดี่ย

--------------------------------

เมขลา หรือ มณีเมขลา เป็นเทพธิดาประจำทะเล และเป็นนางผู้ถือดวงแก้วล่อให้รามสูรขว้างขวานจนทำให้เกิดฟ้าร้อง แต่นางก็โยนแก้วล่อไปล่อมาทำให้เกิดฟ้าแลบแสบตา[1] ทั้งนี้ท้าวโลกบาลทั้งสี่ได้มอบหมายให้คอยช่วยเหลือผู้มีบุญญาที่ตกน้ำ[2] โดยปรากฏในชาดกเรื่อง พระมหาชนก ซึ่งเมขลาเข้าช่วยเหลือเจ้าชายมหาชนกจากเรืออัปปาง[3] และปรากฏใน สมุทรโฆษคำฉันท์ ฉบับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ก็มีการกล่าวถึงเมขลาเข้าช่วยพระสมุทรโฆษที่ลอยคออยู่กลางทะเลเจ็ดวัน[4][5]

ทั้งนี้ฉากรามสูรไล่จับเมขลาไม่ปรากฏในวรรณคดีอินเดียใด ๆ[6] แต่ในประเทศไทยมีการประดิษฐ์ฉากดังกล่าวให้เป็นท่าระบำที่มีลักษณะสนุกสนานสำหรับการแสดงเบิกโรง[7][8]

--------------------------------------------------------------

ที่มาของชื่อ

เมขลา เป็นภาษาบาลี แปลว่า "สายรัดเอว" หรือ "เข็มขัดสตรี" บ้างว่าหมายถึงจับปิ้ง อันเป็นเครื่องประดับอวัยวะเพศหญิง[6] ประเทศไทยใช้ชื่อ "เมขลา" มาตั้งเป็นชื่อของพายุหมุนเขตร้อนในปี พ.ศ. 2548 และ 2551 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังใช้เป็นชื่อรางวัลผลงานดีเด่นทางโทรทัศน์ และศูนย์ป้องกันวิกฤตน้ำ

ประวัติ

ในอรรถกถาสังขชาดกระบุว่าเมขลาเป็นเทพธิดาที่ได้รับมอบหมายจากท้าวโลกบาลทั้ง 4 เพื่ออารักขาทะเล โดยสั่งว่าถ้าเรือมาแตกลง มนุษย์ที่ถือไตรสรณคมน์ก็ดี มีศีลสมบูรณ์ก็ดี ปฏิบัติชอบในมารดาบิดาก็ดี มาตกทุกข์ในสมุทรนี้ พึงพิทักษ์รักษาเขาไว้[9]

ตามนิยายพื้นบ้านของไทย ได้ยกเรื่องเมขลามาอธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ฟ้าแลบและฟ้าร้อง โดยเล่าว่าเมขลามีแก้ววิเศษประจำตัว รามสูรเห็นดังนั้นก็พอใจในดวงแก้วและความงามของเมขลาจึงเที่ยวไล่จับ เมื่อจับไม่ทันก็เอาขวานขว้างแต่ไม่ถูก เนื่องจากนางใช้แก้วล่อจนมีแสงเป็นฟ้าแลบทำให้รามสูรตาพร่ามัวขว้างขวานไม่ถูก[10] บ้างว่าเป็นเพราะรามสูร เมขลา และพระประชุนมาชุมนุมรื่นเริงกัน พระประชุนคือพระอินทร์ในสมัยพระเวทที่มีหน้าที่ทำให้เกิดพายุฝน พระอินทร์ในหน้าที่นี้เรียกว่า ปรรชันยะ หรือ ปรรชัยนวาต ไทยเรียกเป็นพระประชุน เมื่อมีการชุมนุมรื่นเริงกันของเทพแห่งฝน เมขลาผู้มีดวงแก้วและรามสูรผู้มีขวานจึงทำให้เกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า[10] เข้าใจว่าเดิมคงเป็นมุขปาฐะเล่าเรื่องดินฟ้าอากาศของคนสมัยก่อน โดยให้เสียงฟ้าร้องเป็นยักษ์ถือขวาน นางฟ้าถือดวงมณี และให้สภาพอากาศเป็นเทวดา ภายหลังจึงแผลงให้เป็นอินเดียด้วยการใส่ชื่อเทวดาที่มีลักษณะคล้ายกันคือ รามสูร เมขลา และอรชุน ตามลำดับ[7]

ขณะที่เสฐียรโกเศศและนาคะประทีปกล่าวถึงเมขลาว่านางสมุทรเทวี คือเทพธิดารักษาสมุทรไท และเทพธิดาสำหรับฝน[11] ในวรรณคดี เฉลิมไตรภพ ได้อธิบายว่า มีพระยามังกรการตนหนึ่งอมแก้วไว้เสมอ จะไปไหนก็เอาดวงแก้วทูนศีรษะไว้ มังกรการได้แปลงเป็นเทวดาไปสมสู่กับนางฟ้ามีบุตรีชื่อ เมขลา[12] เมื่อเจริญวัยขึ้นมีความงามยิ่ง มังกรการได้นำบุตรีและดวงแก้วไปมอบแก่พระอิศวร ครั้งหนึ่งเมขลาได้ขโมยดวงแก้ววิเศษนั้นไป ราหูผู้มีครึ่งตัวเพราะถูกจักรพระนารายณ์เมื่อครั้งแปลงเป็นเทวดาไปดื่มน้ำอมฤต ได้อาสาไปจับเมขลา และได้ชวนรามสูรผู้เพื่อนไปด้วย รามสูรได้ขว้างขวานจนกลายเป็นฟ้าลั่น[10] ดังที่สุนทรภู่ได้แต่งกลอนอธิบายการล่อแก้วของเมขลาและการขว้างขวานของรามสูรไว้ ความว่า[13]

๏ เมขลากล้าแกล้ว
ล่อแก้วแววไวโยนสว่างเหมือนอย่างไฟ
ปลาบไนยเนตรมาร๏ หน้ามืดฮืดฮาด
เกรี้ยวกราดโกรธทยานแค้นนางขว้างขวาน
เปรี้ยงสท้านโลกา๏ ฤทธิ์แก้วแคล้วคลาศ
ยิ่งกริ้วกราดโกรธาโลดไล่ไขว่คว้า
เมขลาล่อเวียน๏ ยักษ์โถมโจมโจน
นางก็โยนวิเชียรหลีกลัดฉวัดเฉวียน
ล่อเวียนวงวล๏ เปรี้ยงเปรี้ยงเสียงขวาน
ก้องสท้านสากลไล่นางกลางฝน
มืดมนท์ในเมฆา๏ นวลนางนั้นช่างล่อ
รั้งรอร่อนราเวียนรไวไปมา
ในจักรราศีเอย ๚

ในวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชว่า เทศกาลวสันต์คราวหนึ่งนางอัปสรและเทวดาต่าง ๆ มาร่วมจับระบำกัน เมขลาเองก็ถือแก้วมณีไปร่วมจับระบำด้วย รามสูรเห็นดังนั้นจึงไล่จับนางเมขลา แต่พระอรชุนเหาะมาพอดี ด้วยความโกรธรามสูรจึงจับสองขาพระอรชุนไปฟาดเหลี่ยมเขาพระสุเมรุจนตาย[10]

ลักษณะ

ในบทเห่กล่อมพระบรรทม เห่เรื่อง "จับระบำ" ที่แต่งโดยสุนทรภู่ ได้พรรณนาเกี่ยวกับลักษณะของเมขลาที่กำลังล่อแก้วอยู่บนท้องฟ้า และมีความงามดุจกินรี ความว่า

เห่เอยนางเอก
มณีเมขลาลอยเร่ในเมฆา
ถือจินดาดั่งดวงดาวโยนเล่นเห็นแก้ว
สว่างแวววามวาวลอยฟ้าเวหาหาว
รูปราวกับกินรีทรงเครื่องเรืองจำรัส
อร่ามรัศมีฉวีชูช่วงดวงมณี
เลื่อนลอยลีลามาเลียบรอบขอบทวีป
อยู่กลางกลีบเมฆาเชยชมยมนา
เฝ้ารักษาสินธุ

เมขลาในประเทศต่าง ๆ

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เมขลาขณะช่วยพระมหาชนกจากเรืออัปปาง

เรื่องราวของเมขลา มักปรากฏตามจิตกรรมฝาผนังของวัดในประเทศอุษาคเนย์ที่นับถือพุทธศาสนาโดยภาพมาจากฉากในเรื่อง พระมหาชนก[3] โดยในไทยและกัมพูชาได้มีการแสดง "เมขลาล่อแก้ว" ทั้งนี้ในราชสำนักกัมพูชาได้มีพิธีกรรมขอฝนด้วยการเต้นดังกล่าวเพื่อเป็นการบวงสรวงเทวดาเพื่อบังคับฝน ถือเป็นเรื่องสวัสดิมงคล[6][14] โดยชาวเขมรเชื่อว่าแก้วของเมขลาคือไฟแลบ แต่ตามหลักปรณัมศาสตร์ ควรเป็นสัญลักษณ์ของพระจันทร์เสียมากกว่า[15] ส่วนในไทยโดยมากเชื่อว่าเมขลาคือเทพธิดารักษาสมุทรไท[4][11]

ในอดีตชนชั้นสูงในไทยมักระบำเบิกโรงเมขลารามสูรโดยถือเป็นมงคล มีหลักฐานว่ามีอยู่ในราชสำนักมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา และเป็นต้นตำรับของละครใน ซึ่งตกทอดมาจนถึงยุครัตนโกสินทร์[16] ส่วนโรงละครเองก็ประดับประดารูปสลักหรือภาพวาดเมขลารามสูรล่อแก้วถือเป็นมงคลอีกเช่นกัน[6]

ประเทศจีน

ตามคติจีน มีเทพที่ใกล้เคียงกับเมขลาอีกสององค์คือเง็กนึ้ง (จีน: 玉女; พินอิน: yùnǚ; แปลว่า "นางหยก") และอีกองค์คือเตียนบ๊อ (จีน: 電母; พินอิน: diàn mǔ; แปลว่า "เจ้าแห่งสายฟ้า") ต่างกับเมขลาคือถือธงหรือกระจกเงาให้มีแสงแวบวับเป็นสัญญาณให้ลุ่ยกง (จีน: 雷公; พินอิน: léi gōng; แปลว่า "เจ้าแห่งฟ้าร้อง") รู้ก่อนว่าผู้ใดมีใจชั่วควรลงโทษด้วยการใช้ฟ้าผ่า[17]

ประเทศศรีลังกา

ปรากฏในกาพย์ของชาวทมิฬ เรื่อง มณิเมกะไล (ทมิฬ: மணிமேகலை)[18][19] เป็นเทพธิดาแห่งท้องทะเล โดยถือเป็นเทพสตรีที่นอนหลับไหลอยู่บนเกาะมณีปัลลาวัม (ปัจจุบันคือ เกาะนยิณาตีวู) รจนาขึ้นโดยจิตตาไล จัตตานาร์ ถือเป็นมหากาพย์หนึ่งในห้าที่มีชื่อเสียงของชาวทมิฬ[20]

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย

เรื่องราวของเมขลา ได้รับการประพันธ์เป็นเพลง "เมขลาล่อแก้ว" ซึ่งเป็นจังหวะรำวง ขับร้องโดยเบญจมินทร์[21] โดยพรรณนาถึงฉากที่เมขลาล่อแก้วกับรามสูร ส่วนในเพลง "ปักตะไคร้" ของวงบุดดาเบลส ในมิวสิกวีดิโอมีฉากที่เมขลาล่อแก้วจนก่อให้เกิดฟ้าผ่า ส่วนเนื้อหาของเพลงมิได้กล่าวถึงเมขลา[22]

นอกจากนี้ยังมีวรรณกรรมคือ พระมหาชนก พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่มีฉากนางมณีเมขลาเหาะลงมาช่วยพระมหาชนก ในปี พ.ศ. 2549 ได้มีการจัดการแสดง มหานาฏกรรมเฉลิมพระเกียรติ พระมหาชนก เพื่อเทิดพระเกียรติพระเจ้าอยู่หัว โดยนำเค้าโครงจากพระราชนิพนธ์ดังกล่าวมาจัดแสดงในรูปแบบนาฏกรรม[23]

อ้างอิง

↑ กิเลน ประลองเชิง (24 มกราคม 2557). "เมขลาล่อแก้ว". ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

↑ G.P. Malalasekera. Dictionary of Pali Proper Names: Pali-English. Asian Educational Services, 2003

↑ กระโดดขึ้นไป:3.0 3.1 Anne Elizabeth Monius. Imagining a place for Buddhism: literary culture and religious community in Tamil-speaking South India. Oxford University Press US, 2001, pages 111-112

↑ กระโดดขึ้นไป:4.0 4.1 นาค ใจอารีย์. อันเนื่องมาแต่วรรณคดี. พระนคร : คุรุสภา, 2507, หน้า 250-251

↑ สุมาลี วีระวงศ์. "สมุทรโฆษคำฉันท์". นามานุกรรมวรรณคดีไทย. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

↑ กระโดดขึ้นไป:6.0 6.1 6.2 6.3 "เมขลาล่อแก้ว ให้รามสูรขว้างขวาน". สุจิตต์ วงษ์เทศ. 8 ตุลาคม 2555. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2559. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

↑ กระโดดขึ้นไป:7.0 7.1 "ระบำชุด เมขลารามสูร". นาฏศิลป์สัมพันธ์. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]

↑ เอนก นาวิกมูล (12 พฤษภาคม 2563). "เมขลา-รามสูร กับ "ขวานรามสูร" ที่ "สนามหลวง 2"". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

↑ อรรถกถาสังขชาดก, ชาตกัฏฐกถา

↑ กระโดดขึ้นไป:10.0 10.1 10.2 10.3 "เมขลา รามสูร". Thai folk. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

↑ กระโดดขึ้นไป:11.0 11.1 เสฐียรโกเศศ และนาคะประทีป. เมขลา-รามสูร. พระนคร : กรมศิลปากร, 2507, หน้า 18

↑ ชานันท์ ยอดหงษ์. "รามเกียรติ์ : sex, ผู้หญิง, รัฐ และ อุษาคเนย์". The Southeast Asian Consortium on Gender, Sexual and Health. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

↑ พระสุนทรโวหาร (ภู่). "ลำนำเห่กล่อมเรื่องจับระบำ". ประชุมบทลำนำเล่ม 1 เห่กล่อมพระบรรทม. 2469, หน้า 15-16

↑ Cravath, Paul. Asian Theatre Journal, Vol. 3, No. 2 (Autumn, 1986), pp. 179-203 (The Ritual Origins of the Classical Dance Drama of Cambodia) University of Hawai'i Press

↑ ไมเคิล ไรท์. ฝรั่งคลั่งผี. กรุงเทพฯ : มติชน. 2550, หน้า 250

↑ ประเสริฐ สันติพงษ์ (2545). "กระบวนท่ารำของรามสูรในการแสดงเบิกโรงละครใน". Chulalongkorn University Intellectual Repository. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

↑ อุทัย สินธุสาร. สารานุกรมไทย. กรุงเทพฯ : อาศรมแห่งศิลป์และศาสตร์, 2520. หน้า 3500-3501

↑ Manimekalai - Original Text in Tamil

↑ Manimekalai - English transliteration of Tamil original

↑ Mukherjee, Sujit (1999). A Dictionary of Indian Literature: Beginnings-1850. New Delhi: Orient Longman Limited, p. 277

↑ ลูกทุ่งร้องมากว่า50 ปีแล้ว/ "เปิดปูมเพลงไทย-เกาหลี ลูกทุ่งร้องมากว่า 50 ปีแล้ว". สนุกดอตคอม. 9 มีนาคม 2551. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

↑ "6 เพลงปัง! "Buddha Bless" ที่มาพร้อมแง่คิดศีลธรรมสุดลึกซึ้ง!". สนุกดอตคอม. 27 กุมภาพันธ์ 2560. สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

↑ จานีน ยโสวันต์. "มหานาฏกรรมเฉลิมพระเกียรติ พระมหาชนก". Scene4Magazine. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

 

 


     

โทร: 0614901584

ราคา: 0 บาท

หมวดพระ: พระยอดนิยมทั่วไป-พระกริ่ง-ลอยองค์-รูปหล่อ

0 ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบ ไม่สามารถโพสบทความหรือแสดงความคิดเห็นได้ เข้าสู่ระบบ