จำนวนคนอ่านล่าสุด 141 คน

 พระยอดธงกรุวัดเสม็ดงาม จันทบุรี เนื้อเงิน พิมพ์เล็ก เลี่ยม


 พระยอดธงกรุวัดเสม็ดงาม จันทบุรี เนื้อเงิน พิมพ์เล็ก  เลี่ยม

 พระยอดธงกรุวัดเสม็ดงาม จันทบุรี เนื้อเงิน พิมพ์เล็ก  เลี่ยม


รายละเอียด :

16178

 พระยอดธงกรุวัดเสม็ดงาม จันทบุรี เนื้อเงิน พิมพ์เล็ก เสม็ดงามจันทบุรี อู่ต่อเรือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช สุดเข้มขลังง +++

อู่ต่อเรือเสม็ดงาม อยู่ห่างจากตัวเมืองจันทบุรีประมาณ 11 กิโลเมตร สันนิษฐานว่าเป็นสถานที่ซึ่งสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชใช้เป็นอู่ต่อเรือเมื่อครั้งเตรียมยกทัพไปตีพม่าเพื่อกู้เอกราชชาติไทยเมื่อ พ.ศ. 2310 ตามพงศาวดารธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาส ระบุว่า ก่อนที่พระเจ้าตากจะยกทัพไปตีพม่า ได้มีการต่อเรือประมาณ 100 ลำ ที่เมืองจันท์ บริเวณวัดเสม็ดงามที่อยู่ไม่ไกล พบตอไม้ตะเคียนทองจำนวนมาก และยังได้มีคำบอกเล่าว่า มีคลองที่ขุดเพื่อใช้ลำเลียงซุงไม้ตะเคียนมายังอู่ต่อเรือ จึงสันนิษฐานว่าบริเวณนี้เคยเป็นอู่ต่อเรือของพระเจ้าตาก ก่อนหน้าจะมีการขุดค้นพบเรือต่าง ๆ

บริเวณนี้ห่างจากปากแม่น้ำจันทบุรีไม่ไกลนัก ได้มีการค้นพบเรือสำเภาโบราณสมัยพระเจ้าตากซึ่งอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยพบมาในท้องทะเลอ่าวไทย และยังพบเรือขุดโบราณอันเป็นหลักฐานที่น่าสนใจที่ทำให้เห็นได้ว่าที่นี่เป็นย่านการค้าทางทะเลในอดีต และมีการสันนิษฐานต่อมาอีกว่าน่าจะเป็นแหล่งต่อเรือสำเภาที่สำคัญของไทยแห่งหนึ่ง

จากหลักฐานทางโบราณคดีที่ทำการสำรวจอู่ที่ 1 ครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2524-2525 โดยหน่วยโบราณคดีใต้น้ำ กองโบราณคดี กรมศิลปากร ณ บริเวณอู่ต่อเรือพระเจ้าตาก ตามที่ชาวบ้านเกาะเสม็ดงามเล่าสืบกันว่า บริเวณนี้เคยเป็นที่ต่อเรือรบของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อครั้งเตรียมยกทัพไปตีพม่าเพื่อกู้เอกราชของชาติไทยในปี พ.ศ. 2310 การขุดค้นใช้วิธีกั้นเขื่อนสูบน้ำออก ขุดดินออก ฯลฯ ผลการสำรวจพบซากเรือสำเภาท้ายตัด สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเรือสำเภาจีนแบบ "ฟูเจียน" ขนาดเล็ก มีใบสามเถาใช้หางเสือเรือ ความกว้าง 7-8 เมตร ความยาวประมาณ 24 เมตร หลังจากนั้นได้ทำการสำรวจครั้งที่ 2 ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2532 โดยใช้วิธีเหมือนกับการสำรวจครั้งที่ 1 ตัวเรือจมอยู่ใต้ดินประมาณ 1.50-2.90 เมตร เมื่อเอาโคลนออกหมดแล้วได้ติดตั้งเครื่องพ่นน้ำอัตโนมัติเพื่อฉีดน้ำให้ไม้โครงเรืออยู่ในสภาพเปียกชุ่มอยู่ตลอดเวลาและเพื่อป้องกันไม้บิดเบี้ยวเสียรูปทรงหรือเสื่อมสภาพ ปัจจุบันได้สร้างอาคารที่มีหลังคาคลุมไว้ บริเวณรอบ ๆ มีแอ่งน้ำรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอยู่ตามริมฝั่งอ่าว ลักษณะคล้ายอู่เรือและมีอยู่หลายแห่ง

เรือเสม็ดงามเป็นเรือสำเภาท้ายตัด มีเทคนิคการต่อเรือโดยใช้วิธียึดด้วยตะปูเหล็ก ไม้โครงสร้างเรือส่วนใหญ่ เช่นไม้เปลือกเรือ ไม้กั้นระวาง เป็นไม้เนื้ออ่อนในตระกูลไม้สน ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเป็นเรือสำเภาจีนและมีลักษณะใกล้เคียงกับเรือสำเภา "ฟูเจี้ยน" ตามความเห็นจากการสัมภาษณ์ศาสตราจารย์ปิแอร์ อิฟ โมแกง เมื่อปี พ.ศ. 2532 จากการขุดค้นหลุมตรวจสอบบริเวณด้านท้ายเรือ เช่น ท่อนไม้ขนาดต่าง ๆ ที่มีร่องรอยการถากแต่ง รวมทั้งสภาพของท่อนไม้ แผ่นไม้ต่าง ๆ อยู่ในสภาพรองรับตัวเรือให้พร้อมกับการขึ้นคานเพื่อการซ่อมแซม ดังนั้นเรือสำเภาลำนี้ถูกทิ้งอยู่บนคานในอู่ซ่อมเรือแบบแห้ง (Dry-dock) อย่างแน่นอน

ภายในบริเวณเดียวกันพบเศษภาชนะ เชือกป่าน ขวานเหล็ก และถ้วยชามจีนคุณภาพต่ำ สันนิษฐานว่าเป็นเรือที่ต่อขึ้นในจีน ใช้แล่นค้าขายอยู่ตามหัวเมืองชายทะเลอ่าวไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 23-24 นอกจากนี้ยังมีการพบเรือขุดโบราณในบริเวณลึกเข้าไปในแม่น้ำอีกสามสี่ลำ เป็นเรือไม้ตะเคียน ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในโรงเรือนใกล้กับจุดที่ขุดค้นเรือเสม็ดงาม

นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเยือนที่นี่จะได้ชมจุดต่าง ๆ ที่น่าสนใจมากมาย เช่น พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อู่ต่อเรือโบราณที่สร้างอาคารมีหลังคาคลุมไว้ให้ผู้ที่สนใจได้เข้าไปศึกษา พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น อู่ต่อเรือสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ภายในอาคารแสดงนิทรรศการถาวรเกี่ยวกับพระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจของมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการทางด้านโบราณคดีของจันทบุรี เทคโนโลยีการต่อเรือสำเภา เครื่องดินเผา เครื่องสังคโลก เรือจำลอง เครื่องใช้สมัยโบราณ ฯลฯ อาคารแสดงเรือสำเภาที่มีเรือสำเภาขนาดใหญ่จัดแสดงไว้ และนิทรรศการเกี่ยวกับท้องถิ่น อาคารสาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของบ้านเสม็ดงาม ท่าเทียบเรือที่มีเรือรบที่ปลดระวางแล้วมาจอดแสดงให้นักท่องเที่ยวชม

ขอบคุณข้อมูลจากอินเตอร์เนท

โทร: 0971397060

ราคา: 0 บาท

หมวดพระ: พระยอดนิยมภาคต่างๆ-พระยอดนิยม-ประจำจังหวัด

0 ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบ ไม่สามารถโพสบทความหรือแสดงความคิดเห็นได้ เข้าสู่ระบบ