จำนวนคนอ่านล่าสุด 1441 คน

พระชัยวัฒน์ วัดบวร เนื้อเงิน มีรอยจารย์ ใต้ฐาน



รายละเอียด :

7/0119

พระชัยห่มคลุม วัดบวร สร้างปี 2432 เป็น 1 ใน 5 พระชัยยอดนิยม ที่หาชมยาก 

**************************************************

 พระชัยวัฒน์ ในวงการพระที่นิยมกันสุดๆ หายากสุดๆ และแพงสุดๆ อ.เกี๊ยก ทวีทรัพย์  ผู้ชำนาญพระกริ่งพระชัยวัฒน์ บอกว่า มี ๕ องค์ คือ

๑.พระชัยวัฒน์มงคลวราภรณ์ ที่ ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ทรงสร้างขึ้น เพื่อพระราชทานแก่พระราชโอรส พระราชธิดา โดยสร้างครั้งแรกที่วัดพระแก้ว และครั้งที่ ๒ ที่พระราชวังบางปะอิน โดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเป็นประธาน

๒.พระชัยวัฒน์นิรันตราย วัดบวรนิเวศวิหาร สมัยรัชกาลที่ ๔ สร้างโดย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

๓.พระชัยวัฒน์ห่มคลุม วัดบวรนิเวศวิหาร คาดว่าสร้างหลังจาก พระกริ่งปวเรศ ไม่นานนัก ตามพระประวัติ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ผู้ทรงสร้าง พระกริ่งปวเรศ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน ๒๔๓๕ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ฉะนั้น พระชัยวัฒน์ห่มคลุม จึงน่าจะสร้างหลังจากนั้นไม่นานนัก นับถึงวันนี้มีอายุประมาณ ๑๐๐ ปี นับว่ามีความเก่าพอสมควร

เนื่องจากมีจำนวนสร้างน้อย จึงพบเห็นได้ยาก ราคาเช่าหาย่อมสูงถึงหลักแสนขึ้นไป (ห่มคลุม หมายถึงการห่มจีวรแบบคลุม ซึ่งเป็นลักษณะการห่มจีวรของพระสงฆ์สายธรรมยุต ส่วนสายมหานิกายใช้วิธีแบบห่มดอง)

๔.พระชัยวัฒน์สิงหเสนี เป็นพระชัยวัฒน์ที่ เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ผู้บูรณปฏิสังขรณ์วัดสามปลื้ม เป็นผู้ขออนุญาต ท่านเจ้ามา วัดสามปลื้ม จัดสร้างขึ้น ในช่วงเวลาเดียวกับที่ท่านเจ้ามาได้จัดสร้างพระชัยวัฒน์ พิมพ์ต่างๆ ขึ้น ประมาณปี ๒๔๔๒ นับถึงวันนี้มีอายุกว่า ๑๐๐ ปี นับเป็นพระชัยวัฒน์ที่พบเห็นได้ยาก เข้าใจว่ามีจำนวนสร้างน้อย และ

๕.พระชัยวัฒน์เขมรน้อย สมเด็จพระสังฆราช(แพ)วัดสุทัศนฯทรงสร้างขึ้นในช่วงที่ครองสมณศักดิ์พระพรหมมุนี(ประมาณ พ.ศ.๒๔๕๖-๒๔๕๘)ประมาณ ๕๐ องค์

บทความ คม ชัด ลึก

*************************************

 

พระชัยวัฒน์ห่มคลุม เนื้อเงิน วัดบวรนิเวศวิหาร ว่ากันว่า สร้างหลังจาก พระกริ่งปวเรศ ไม่นานนัก ตามพระประวัติ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ผู้ทรงสร้าง พระกริ่งปวเรศ ท่านเป็นผู้สร้างไว้  ท่านสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๔๓๕ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ แต่บ้างก็ว่า สร้างโดย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส แต่ที่แน่ๆคือ อายุไม่ต่ำกว่า 120ปี และ พระองค์นี้ เนื้อโลหะจัด ดูง่าย หล่อโบราณ แม้จะไม่ติดทุกสัดส่วน แต่งมานิดหน่อยพองาม แต่ได้สภาพเดิม ขนาดความกว้างที่ฐาน 1.0 เซนติเมตร ความสูง 1.8 เซนติเมตร จำนวนการสร้างไม่มีประวัติชัดเจน แต่คาดว่าสร้างเป็นการเฉพาะและมีจำนวนน้อยมาก นับเป็น 1 ใน 5  พระไชยวัฒน์ ที่ ทรงคุณค่าหายากมาก และเป็นที่นิยมมากที่สุด อันดับที่ 3 ของวงการ...... การหล่อพระไชยวัฒน์ (ปัจจุบันใช้ว่า "พระชัยวัฒน์") ในสมัยนั้น ต้องมีการตั้งกระโจมเทียนไชย ที่หน้าเตียงสงฆ์  มีศาลเทพารักษ์สูงเพียงตา สำหรับโหรบูชาเทพยดาทั้ง 4 ทิศ ต้องทำการจุดเทียนบูชา นมัสการทรงศีล มีการประโคมแตรสังข์พิญพาทย์ พร้อมกัน พระสงฆ์จะผลัดกัน สวดพุทธาภิเศก ส่วนพระราชาคณะจะนั่งปรกประจำเทียนไชย  เป็นช่วงเวลาต่างๆ ล่วงหน้าพิธีการหล่อพระ ติดต่อกันหลายวัน พร้อมทั้งการบำเพ็ญกุศล จนวันสุดท้ายตามฤกษ์การหล่อจะเริ่มขึ้น "การหล่อพระไชยวัฒน์ ขณะการหล่อ พระสงฆ์จะสวดไชยมงคล ส่วนเจ้าพนักงาน ประโคมดุริยดนตรีและยิงปืน มหาฤกษ์,มหาชัย,มหาจักร์,มหาปราบ ทั้งหมด 21 นัด หลังการหล่อสิ้นสุด จะมีการถวายภัตตาหารพระ จบดับเทียนไชย หลังการหล่อพระไชยวัฒน์ จะมีพิธี "ฉลองพระไชยวัฒน์" โดยจะนำพระไชยวัฒน์ไปประดิษฐานบนแทนใต้ฉัตร จะบูชาเทียนในพิธี และจำนวนพระสงฆ์ในพิธีเท่ากันจำนวนพระที่หล่อ เช่น หล่อพระ 26 องค์ จะใช้เทียน 26 เล่ม และพระสงฆ์ 26 รูป มาเจริญพระพุทธมนต์ นับว่าเป็นพิธีที่ละเอียดอ่อนมากในยุคนั้นการหล่อพระจึงมิได้ทำคราวละมากๆ และจะทำไว้ให้แก่ บุคคลสำคัญเท่านั้นครับ      ******* อ้างอิงจาก  พระราชกิจจานุเบกษา เล่ม 10 ตอนที่ 22 หน้า 255,256,257  (สมัยรัชกาลที่ ๕)******แต่ในทัศนะส่วนตัว มีความคิดว่า พระนิรันตราย สร้างโดย กรมพระยาวชิรญาณวโรรสนั้น ค่อนข้างเชื่อมั่นตามนั้นเพราะ รูปแบบ พุทธศีลป์ท่านออกมาในยุค รัชกาลที่ ๕ แบบเต็มตัว โดยเฉพาะจีวรทางด้านหลังนั้น ไม่ใช่ยุค รัชกาลที่ ๔ ...ของยุครัชกาลที่ ๔ ชายจะไม่ลงมาตรงๆแบบนี้ จะ โค้งรับเป็นรูปตัว แอล บางท่านกล่าวว่าสร้างในยุครัชกาลที่ ๔ นั้น จะเชื่อได้ก็ต้องมีเอกสารสนับสนุนนะครับ อีกอย่างท่านทรงครองวัด ในปี พ.ศ. ๒๔๓๕ ก็ยังอยู่ในยุครัชกาลที่ ๕  อีกอย่างท่านทรงผนวช ในปี พ.ศ. ๒๔๒๓ ก็ยังอยู่ในยุครัชกาลที่ ๕ อยู่ดี ถ้าบอกว่าท่านสร้าง พระนิรันตรายในยุครัชกาลที่ ๔ ท่านต้องสร้างตอนอายุ ๙ พรรษานะค่ะ....ส่วนพระชัยวัฒน์ห่มคลุมนั้น หากดูกันตาม งานศีลป์สมัยนิยม อ้างอิงกับพระพุทธรูปบูชา ในยุค รัชกาลที่ ๔ กับรัชกาลที่ ๕ แล้ว หากไม่มี ธงในใจ เทียบดูก็จะเห็นชอบว่า "พระชัยวัฒน์ห่มคลุม"  นั้น น่าจะสร้างในยุครัชกาลที่ ๔ มากกว่า เพราะพุทธศีลป์ ห่มดอง จีวรริ้ว ใครๆ ก็ต้องบอก ว่า ศีลป์แบบนี้ รัชกาลที ๔ ชัดๆ แต่หากถามว่าใครสร้าง "สมเด็จ กรมพระยาปวเรศน์ " สร้างหรือไม่ ถ้าเป็นยุค รัชกาลที่ ๔ ก็ต้องบอกว่า พระชุดนี้ของวัดบวรฯ  ผู้สร้างก็ต้องเป็น ท่านแน่เสียยิ่งกว่าแน่.....แต่หากประเมินต่ำอีกซักหน่อย ว่าเป็นงานศีลป์ ในยุคต้นๆ ของรัชกาลที่ ๕ได้มั๊ย....ได้ค่ะ   แน่นอนค่ะ พระชัยวัฒน์ห่มคลุม หากมีการสร้างพระแบบนี้ที่พิเศษในยุคนั้น...หากจะมองข้ามปีสำคัญมากที่สุด ของวัดบวรฯ ในยุคนั้นไม่ได้เลยคือ ในปี พ.ศ. ๒๔๓๔.....มีความสำคัญคือ 1.ปีนั้นได้มีการจัดงาน "มหาสมณุตตมาภิเศก ของ " กรมสมเด็จพระปวเรศวริยาลงกรณ์ " ในปี ร.ศ. ๑๑๐ 2.งานทรงพระผนวช สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ พระสยามกุฎราชกุมาร โดยมี สมเด็จกรมพระปวเรศน์ ทรงเป็นพระราชอุปัชย์  3.ในปีนั้น (ร.ศ.110) มีการสร้างเหรียญ 3 แบบคือ -เหรียญบาตรน้ำมนต์-เหรียญมือ และเหรียญจับโป๊ยล่อฮั่น ....จะเป็นไปได้มั้ยหาก พระชัยวัฒน์ห่มคลุม จะได้สร้างในปี ร.ศ. ๑๑๐ (พ.ศ. 2434) ในวาระคราวเดียวกันนี้ด้วยโดยมี กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นแม่งานใหญ่ ในการหล่อ และ อธิษฐานจิตโดย "กรมสมเด็จปวเรศน์"

โทร: 0928732628

ราคา: 0 บาท

หมวดพระ: พระยอดนิยมทั่วไป-พระกริ่ง-ลอยองค์-รูปหล่อ

0 ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบ ไม่สามารถโพสบทความหรือแสดงความคิดเห็นได้ เข้าสู่ระบบ