จำนวนคนอ่านล่าสุด 1571 คน

พระกริ่ง ปวเรศ วัดบวร 2408 PRA GING PAOWALED Temple Bowonniwet year1865-1875


พระกริ่ง ปวเรศ วัดบวร 2408 PRA GING PAOWALED Temple Bowonniwet year1865-1875

พระกริ่ง ปวเรศ วัดบวร 2408 PRA GING PAOWALED Temple Bowonniwet year1865-1875

พระกริ่ง ปวเรศ วัดบวร 2408 PRA GING PAOWALED Temple Bowonniwet year1865-1875

พระกริ่ง ปวเรศ วัดบวร 2408 PRA GING PAOWALED Temple Bowonniwet year1865-1875

พระกริ่ง ปวเรศ วัดบวร 2408 PRA GING PAOWALED Temple Bowonniwet year1865-1875


รายละเอียด :

7/7777///3758/21/02/2562

พระกริ่งปวเรศ องค์ในภาพมิใช่องค์ในบทความ

ขอขอบคุณ เจ้าของภาพ และ บทความ จากบทความ หลายๆ ท่าน หลายๆ บทความ เพื่อเป็น วิทยาทาน แนวทางการศึกษา

*********************************

พระกริ่งปวเรศ

"ชื่อเสียงเป็นที่เคารพบูชาและได้รับความนิยมมากที่สุดในหมู่พุทธศาสนิกชนและผู้นิยมสะสมพระเครื่องทั่วไป"

“พระกริ่งปวเรศฯ” สุดยอดของพระกริ่งในประเทศไทย สร้างโดยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ตามตำราการสร้างพระกริ่งที่ได้รับตกทอดมาจากสมเด็จพระพนรัตน์ วัดป่าแก้ว

“พระกริ่งปวเรศฯ” เป็นพระเนื้อสัมฤทธิ์ เนื้อขององค์พระจะออกสีจำปา คือ ค่อนข้างอมทองแดง สนิมที่ปรากฏตามผิวจะออกสีน้ำตาลอมดำ ใช้โลหะเป็นมวลสารทั้งหมด 9 ชนิด เรียกว่า “นวโลหะ” คือ ทองคำ เงิน ทองแดง สังกะสี ปรอท บริสุทธิ์ เหล็กละลายตัว เจ้าน้ำเงิน และชิน ตามตำราการสร้างแต่โบราณ นอกจากนี้ ท่านเจ้าประคุณฯ ทรงนำเนื้อฐานของพระพุทธชินสีห์ ที่จำลองมาจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก เพื่อประดิษฐานที่วัดบวรฯ ซึ่งเก็บไว้ตั้งแต่คราวพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ทำการบูรณะฐานใหม่เมื่อปี พ.ศ.2409 เข้ามารวมเป็นเนื้อมวลสารด้วย ทรงนำส่วนผสมทั้งหมดมารวมกันแล้วตีเป็นแผ่นบางๆ ลง “ยันต์ 108” กับ “นะปถมัง 14” เมื่อถึงฤกษ์งามยามดีจึงเทหล่อเป็น “พระกริ่งปวเรศฯ” ใช้กรรมวิธีการเทแบบ “อุดก้น” ด้วยแผ่นทองแดงและกำกับปีสร้างประมาณ พ.ศ.2416 ถึง 2434 การจัดสร้างในครั้งนั้นเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์ และเหล่าเชื้อพระวงศ์โดยเฉพาะ จำนวนการสร้างจึงน้อยมาก น่าจะไม่เกิน 30 องค์

“พระกริ่งปวเรศฯ” สร้างโดยถอดรูปแบบและแนวทางการสร้างมาจาก “พระกริ่งใหญ่” ซึ่งเป็นพระกริ่งนอก เนื้อเป็นเนื้อสัมฤทธิ์ และขนาดขององค์พระพอๆ กัน พระพุทธปฏิมากรรมก็เหมือนกัน และเป็นพระที่ถอดพิมพ์จากแม่พิมพ์เดียวกันทุกองค์เช่นเดียวกัน ดังนั้นตำหนิแม่พิมพ์ของพระกริ่งปวเรศฯ จึงเหมือนกันทุกองค์

แต่พุทธศิลปะของ “พระกริ่งปวเรศฯ” จะแตกต่างกับ “พระกริ่งใหญ่” โดยสิ้นเชิง สันนิษฐานได้ว่าท่านเจ้าประคุณฯ เพียงอาศัยเค้าโครงของพระกริ่งใหญ่เท่านั้น แต่ปั้นพิมพ์ขึ้นมาใหม่จากจินตนาการอันทรงพระปรีชาชาญของท่านเจ้าประคุณฯ พุทธศิลปะของ “พระกริ่งปวเรศฯ” เป็นพระกริ่งที่แสดงออกในด้านศิลปะแบบไทยบริสุทธิ์ เป็นลักษณะของศิลปะแบบอู่ทองสุวรรณภูมิหรืออู่ทองตอนต้นโดยแท้ แม้จะเป็นพระกริ่งขนาดเล็ก ก็สามารถถ่ายทอดถึงอารมณ์อันเคร่งขรึมและสงบราวกับสิ่งมีชีวิต

“พระกริ่งปวเรศฯ” สร้างเป็นพระพุทธรูปลอยองค์ ประทับนั่ง แสดงปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบบนฐานบัวคว่ำบัวหงายสองชั้น ชั้นละ 7 กลีบ และบัวด้านหลังอีก 1 กลีบคู่ หลักการการพิจารณามีดังนี้

*กลีบบัวจะไม่กลมเหมือนกริ่งนอก ซึ่งค่อนข้างนูนและกลม

*พระกริ่งทุกชนิดจะมีบัวเฉพาะด้านหน้าเป็น 7 กลีบคู่ แต่ “พระกริ่งปวเรศฯ” เพิ่มบัวหลังอีก 1 กลีบคู่ ทำให้ไม่เหมือนกับพระกริ่งใดเลย มูลเหตุที่เพิ่มบัวด้านหลัง เนื่องด้วยท่านเจ้าประคุณฯ เป็นสังฆราชองค์ที่ 8 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นั่นเอง

*พระหัตถ์ซ้ายทรง “วชิระ”

*ที่ขอบจีวรตรงพระอุระกับชายจีวรที่พระพาหาจะไม่มีเม็ดไข่ปลาอย่างกริ่งนอก

*จากพระพักตร์ ช่วงกลางขององค์พระ และฐานบัวประทับ ถ้าสังเกตทางด้านข้างจะเห็นว่าแบนกว่าพระกริ่งใหญ่

*ด้านก้นของ “พระกริ่งปวเรศฯ” อุดด้วยแผ่นฝาบาตรทองแดงบุ๋มเป็นแอ่งกะทะ ภายในบรรจุเม็ดกริ่งไว้ เขย่ามีเสียงดัง

*โดยเฉพาะด้านข้างของกลีบบัวหลังจะปรากฏจุดลับตอกรูปเม็ดงาไว้กันปลอมแปลง

พุทธคุณอันล้ำเลิศของพระกริ่งปวเรศฯ จะเป็นที่กล่าวขานกันมากในด้านการรักษาโรค เพราะคำว่า “พระไภษัชคุรุ” นั้นแปลว่าผู้เป็นเลิศทางรักษาโรค มีเรื่องเล่าว่า เมื่อครั้งสมเด็จพระวนรัต (แดง) อาพาธเป็นโรคอหิวาต์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์เสด็จไปเยี่ยม และทรงนำพระกริ่งปวเรศฯ มาทำน้ำพระพุทธมนต์ให้ฉัน ปรากฏว่าสมเด็จพระวนรัตมีอาการดีขึ้นๆ และหายเป็นปกติในที่สุด

อาจด้วยมูลเหตุนี้เอง ทำให้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชแพ แห่งวัดสุทัศนเทพวราราม ซึ่งประทับอยู่ในเหตุการณ์ด้วยเกิดความสนพระทัย ต่อเมื่อได้รับ “ตำราการสร้างพระกริ่ง” สืบทอดมาจาก “ท่านเจ้ามา” วัดสามปลื้ม จึงเริ่มสร้างพระกริ่งขึ้นมากมาย พระกริ่งที่สร้างจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชแพและวัดสุทัศนเทพวรารามกลายเป็นพระเครื่องที่มีชื่อเสียงเป็นที่เคารพบูชาและได้รับความนิยมมากที่สุดในหมู่พุทธศาสนิกชนและผู้นิยมสะสมพระเครื่องทั่วไป

โดย อ.ราม วัชรประดิษฐ์

ที่มา: www.aj-ram.com/view/พระกริ่งปวเรศ

******************************

คมเลนส์ส่องพระ วันนี้ยังคงเป็น ภาพพระกริ่ง จากหนังสือ สุดยอดพระกริ่งยอดนิยม จัดทำโดยทีมงานนิตยสาร พระท่าพระจันทร์ พิมพ์แจกเป็นรางวัลในงานนี้ องค์แรก คือ พระกริ่งปวเรศ ที่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศ ทรงสร้างขึ้นประมาณไม่น่าจะเกิน ๓๐ องค์...เป็น พระกริ่งองค์แรก ที่สร้างขึ้นในเมืองไทย ก่อน พ.ศ.๒๔๑๑...ผู้ชำนาญเรื่องพระกริ่งท่านหนึ่งให้ข้อมูลว่า...การเททองหล่อพระกริ่งปวเรศ ตามตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร บันทึกไว้ว่า มีการเททองหล่อ ๒ ครั้ง ครั้งละประมาณ ๑๐ องค์ การเททองหล่อ พระกริ่งปวเรศ ครั้งแรกหล่อพร้อมกับ ครอบน้ำมนต์ ๒ ใบ ใบหนึ่งได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายแด่ ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๔ ซึ่งพระองค์ได้เสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๑ แสดงว่า พระกริ่งปวเรศ จะต้องสร้างขึ้นก่อน พ.ศ.๒๔๑๑ อย่างแน่นอน แต่จะเป็นปีใดนั้นยังหาข้อยุติไม่ได้...พุทธลักษณะของ พระกริ่งปวเรศ เป็นการสร้างแม่พิมพ์ขึ้นมาใหม่ ตามเค้ารูปแบบมาจาก พระกริ่งใหญ่ (ของจีน) โดยเปลี่ยนแปลงพิมพ์ในบางส่วน ฯลฯ จุดสังเกตสำคัญของ พระกริ่งปวเรศ อาทิ ฐานด้านขวาต่ำกว่าด้านซ้าย, บัวหน้ามี ๗ กลีบ บัวหลังมี ๑ กลีบ กลีบบัวหลังหากมองด้านข้างจะเห็นว่ามีลักษณะเชิดขึ้นเล็กน้อย, เม็ดพระศกแต่งมาแต่เดิมในพิมพ์ ไม่ได้นำมาตอกใหม่ หลังจากเททองหล่อเป็นองค์พระแล้ว, ลักษณะการเททอง แบบกลวงใต้ฐาน เหมือนกับพระบูชา เมื่อบรรจุเม็ดกริ่งแล้วจะปิดใต้ฐานด้วยแผ่นโลหะ ซึ่งมีทั้งเนื้อทองแดง และทองฝาบาตร ลักษณะการเชื่อมปิดแผ่นทองใต้ฐานนี้ละเอียดสนิทแน่นเรียบร้อยดีมาก, องค์พระเป็นเนื้อสัมฤทธิ์ กลับดำสนิท ผิวพระงดงามมาก ปรากฏเป็นเส้นใยขึ้นจากผิวพระโดยธรรมชาติ เหมือนกับผิวแตงแคนตาลูป ในซอกหูทั้ง ๒ ข้างมีการควักขึ้นจนเห็นเหมือนกับตัวสระอา (า) ฯลฯ

จาก น ส พ คม ชัดลึก

-----------------------------------------

ไลฟ์สไตล์ > พระเครือง  :  1 ต.ค. 2555

พระกริ่งปวเรศของปลอมที่มีการเช่าซื้อกัน ๒๐ ล้าน! : พระองค์ครู โดยไตรเทพ ไกรงู

              พระกริ่งปวเรศ เป็นพระที่มีราคาเช่าซื้อกันสูงที่สุดในประเภทพระโลหะ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ สร้างโดยองค์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงสร้างด้วยเนื้อนวโลหะ เพื่อประทานแก่เชื้อพระวงศ์ เจ้านายในวังที่สนิทคุ้นเคย หรือผู้ที่เห็นสมควรเท่านั้น ตามประวัติที่กล่าวไว้ว่า ท่านได้สร้างไว้รวมทั้งหมดไม่น่าจะเกิน ๓ ครั้ง และรวมทั้งสิ้นแล้วมีประมาณกว่า ๓๐ องค์
    
               ทั้งนี้ สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ แห่งวัดบวรนิเวศ เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ เคยมีดำรัสถึงเรื่องพระกริ่งปวเรศนี้ว่า ตำราการสร้างพระกริ่งและตำรามงคลโลหะ ที่มีมาแต่โบราณสืบค้นได้ถึงสมัยสมเด็จพระพนรัตนวัดป่าแก้ว
    
               ในขณะที่ พ.อ.ผจญ กิตติประวัติ หรือ อ.ตรียัมปวาย อาจารย์ตรียัมปวาย ผู้ขนานนาม "พระเครื่องชุดเบญจภาคี" ได้กล่าวถึงเรื่องพระกริ่งปวเรศไว้ดังนี้ "พระกริ่งปวเรศที่คนโบราณเขานิยมกันนั้น มีอยู่เนื้อเดียว คือเนื้อนวโลหะผิวกลับดำ เมื่อขัดเนื้อในจะเป็นสีจำปาเทศ และเมื่อทิ้งไว้ถูกกับอากาศจะกลับดำอีกครั้งหนึ่งในเวลาไม่นาน
    
               ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ คือ แม้จะมีการประมาณว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ จะสร้างพระกริ่งปวเรศประมาณ ๓๐ องค์ แต่กลับมีผู้ครอบครองพระกริ่งปวเรศที่ยืนยันว่าเป็นของแท้มากถึงหลักร้อยองค์ บางรายยืนยันว่า ครอบครองพระกริ่งปวเรศมากถึง ๗ องค์ นอกจากนี้แล้วอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อยยิ่งกว่ากัน คือ ค่านิยมพระกริ่งปวเรศทุกองค์ เท่าที่มีการเช่าซื้อกันมีค่านิยมมากกว่า ๒๐ ล้านบาท 
    
               ล่าสุดมีข่าวออกมาว่ามีพระกริ่งปวเรศหลุดออกมาในสนามพระในคราวเดียวถึง ๒ องค์ ทำให้เซียนพระถึงกับอึ้งกิมกี่ เพราะหากไล่เลียงจำนวนผู้ครอบครองพระกริ่งปวเรศในปัจจุบันมีกว่ากว่า ๑๐๐ องค์ แต่ละคนล้วนคุยว่าเป็นของแท้ทุกองค์ สำทับด้วยประวัติผู้ครอบครอง ตระกูลเก่าแก่ ที่เรียกว่า "ฉายหนัง"
    
               การเช่าซื้อพระกริ่งปวเรศถือว่าเป็นตำนานเพราะนานๆ ครั้งจะมีการซื้อกันสักครั้ง คือ เมื่อ ๒๐ ปีก่อน มีเด็กนำมาขายในตลาดพระเครื่องท่าพระจันทร์ แต่ปรากฏว่าขายผิดราคา ภายหลังจึงมีการแจ้งความว่าพระถูกขโมยมา จึงมีการไถ่คืน 
    
               ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันการเช่าซื้อพระกริ่งปวเรศ ส่วนใหญ่จะมีการพิสูจน์ด้วยการไปวางบนบล็อกดินเผาด้านหลัง ที่อยู่ในวัดบวรว่าพอดีกับเบ้าหรือไม่ รวมทั้งเปรียบเทียบกับองค์จริงของวัดทุกครั้งไป
    
               พระกริ่งปวเรศ เป็นพระกริ่งเนื้อนวะกลับดำ ถ้าผิวของเนื้อโดนสัมผัสจะเห็นเนื้อในเป็นสีนาก หรือ อ.นิรันตร์ แดงวิจิตร (อ.หนู อดีตนักแต่งพระกริ่งชื่อดังชั้นครู) จะเรียกกว่า "สีมันเทศ"
     
               เรื่องการออกใบรับรองพระกริ่งปวเรศนั้น เป็นเรื่องที่สร้างความปวดหัวให้กับสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทยอยู่ไม่น้อย เพราะพระแต่ละองค์ล้วนอยู่ในความครอบครองของผู้หลักผู้ใหญ่ และมหาเศรษฐีระดับร้อยล้านทั้งสิ้น ถ้าเกิดว่าผู้ครอบครองพระพร้อมใจกันไปให้สมาคมออกใบรับรองไม่รู้จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง  
    
               สำหรับภาพพระองค์ครูวันนี้เป็นภาพ พระกริ่งปวเรศองค์วัดบวรฯ ที่ประดิษฐานอยู่ในเก๋งกระเบื้องดินเผาจีนที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์วัดบวรฯ เวลามีงานใหญ่จริงๆ ถึงจะได้ชม แถมอยู่ไกลและอยู่ในเก๋งทำให้แทบจะพิจารณาให้ละเอียดไม่ได้
    
               ไม่น่าเชื่อว่าขนาดมีคนบอกว่าของปลอมมีมากกว่าของแท้แต่ยังมีมหาเศรษฐีกล้าซื้อ ด้วยเงินกว่า ๒๐ ล้านบาท ท่ามกลางข้อกังขาของเซียนพระกริ่งว่า "พระกริ่งปวเรศปลอม!"

น.ส.พ.คมชัดลึก

--------------------------------------------

--------ปัญหาเรื่องรุ่นหนึ่ง–รุ่นสอง ชี้ขาดได้ ร.อ.หลวงบรรณยุทธ เขียนเมื่อปี 2488 พระกริ่งปวเรศสร้างสองคราว คราวแรกอุดก้นด้วยทองแดง คราวสองอุดก้นด้วยทองเหลือง

อ่านข่าวต่อได้ที่: https://www.thairath.co.th/content/794356------------------

 

 

 

โทร: 0984734410

ราคา: 0 บาท

หมวดพระ: พระยอดนิยมทั่วไป-พระกริ่ง-ลอยองค์-รูปหล่อ

0 ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบ ไม่สามารถโพสบทความหรือแสดงความคิดเห็นได้ เข้าสู่ระบบ