จำนวนคนอ่านล่าสุด 849 คน

เทาะทะลีทีอ๋อง พระกริ่งจีนพัชรีทีอ๋อง อุดกริ่งดังใต้ฐาน


เทาะทะลีทีอ๋อง พระกริ่งจีนพัชรีทีอ๋อง อุดกริ่งดังใต้ฐาน

เทาะทะลีทีอ๋อง พระกริ่งจีนพัชรีทีอ๋อง อุดกริ่งดังใต้ฐาน

เทาะทะลีทีอ๋อง พระกริ่งจีนพัชรีทีอ๋อง อุดกริ่งดังใต้ฐาน

เทาะทะลีทีอ๋อง พระกริ่งจีนพัชรีทีอ๋อง อุดกริ่งดังใต้ฐาน

เทาะทะลีทีอ๋อง พระกริ่งจีนพัชรีทีอ๋อง อุดกริ่งดังใต้ฐาน

เทาะทะลีทีอ๋อง พระกริ่งจีนพัชรีทีอ๋อง อุดกริ่งดังใต้ฐาน


รายละเอียด :

4/1920

พระองค์ในรูปมิใช่องค์ในบทความ

****************************

ขอขอบคุณ เจ้าของบทความ


พระกริ่งทีอ๋อง

เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า "พระกริ่ง" ในประเทศไทยนั้น แบ่งออกเป็นพระกริ่งนอกและพระกริ่งใน "พระกริ่งนอก" คือพระกริ่งที่มีแหล่งกำเนิดจากต่างประเทศ และ "พระกริ่งใน" คือพระกริ่งที่สร้างในประเทศ พระกริ่งนอกที่เป็นที่นิยมสูงส่วนใหญ่จะเป็นพระกริ่งจากประเทศจีน โดยเฉพาะชุด "เทียมตึ้งโงโจ้ว" ซึ่งแปลว่า ห้าพระศาสดาแห่งโลกธาตุ อันประกอบด้วย พระกริ่งใหญ่ พระกริ่งหนองแส พระกริ่งบาเก็ง พระกริ่งจีนใหญ่ และพระกริ่งทีอ๋อง ฉบับนี้จะขอกล่าวถึง "พระกริ่งทีอ๋อง" ซึ่งมีลักษณะค่อนข้างโดดเด่นและน่าสนใจครับผม

พระกริ่งพัชรีย์ตีอ๋อง หรือ พระกริ่งทีอ๋อง มีชื่อเรียกที่ถูกต้องในภาษาจีนว่า "เทาะทะลีทีอ๋อง" ไม่ใช่ "ตีอ๋อง" ดังที่เรียกกันโดยทั่วไป คำว่า "ทีอ๋อง" มีความหมายว่า ท้าวโลกบาล ประจำอยู่ทางทิศตะวันตก พระหัตถ์ถือเจดีย์ บางแห่งก็กล่าวว่า คือ "ท้าววิรูปักษ์" ผู้เป็นใหญ่ในนาคพิภพ ซึ่งพระหัตถ์ถือเจดีย์เช่นกัน แต่เข้าใจว่า "พระกริ่งทีอ๋อง" น่าจะสร้างขึ้นต่างคติกับท้าววิรูปักษ์ ด้วยคำว่า "ทีอ๋อง" คือท้าวโลกบาลซึ่งประจำอยู่บนสวรรค์ เฝ้าพระบรมธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่บนดาวดึงส์ หาได้อยู่ในนาคพิภพดังเช่นท้าววิรูปักษ์แต่อย่างใดไม่

พระกริ่งทีอ๋อง สร้างด้วยเนื้อสำริดทอง เนื้อในขององค์พระจะออกสีคล้ายทองแดง แต่ผิวชั้นนอกกะไหล่ด้วยทองคำ ลักษณะผิวเนื้อจะคล้ายพระกริ่งใหญ่และพระกริ่งบาเก็ง อยู่ในสกุลช่างยุคเดียวกัน ต่างกันแต่เพียงลักษณะพิมพ์ทรงเท่านั้น ประติมากรรมของพระกริ่งทีอ๋อง ผู้สร้างพยายามเน้นให้เห็นถึงการแสดงออกทางกายวิภาคและอารมณ์อันสงบต่อการ บำเพ็ญสมาธิภาวนา พระพักตร์ที่เหี่ยวย่น พระหนุแหลม และปลายพระเนตรที่ชี้สูงขึ้น บ่งบอกลักษณะถึงความยิ่งใหญ่และพลังอำนาจที่เปล่งอยู่ภายใน พระหัตถ์ซ้ายถือเจดีย์ยอดเปลวเพลิง อันหมายถึงความรุ่งโรจน์และการตั้งมั่นในหลักธรรม ดอกบัวแปดกลีบที่เป็นบัลลังก์อยู่ตอนหน้าฐาน หมายถึง มรรคแปด

พระกริ่งทีอ๋อง สร้างในสมัยราชวงศ์ถัง ระหว่างปี พ.ศ.1349-1363 ลักษณะเครื่องทรงแสดงให้เห็นถึงลักษณะของนักบวชจีน อันนับเป็นแบบพิเศษทางด้านพุทธศิลปะของสกุลซัวไซ ที่เริ่มมีการสร้างพระพุทธรูปเป็นลักษณะรูปมนุษย์เป็นแห่งแรก แต่ก็แสดงออกถึงลักษณะดั้งเดิมของจีน ซึ่งผู้สร้างได้ถ่ายแบบมาจากพระพุทธรูปที่วัดหลงเมนยี่ ใกล้นครลกเอี๋ยง ลักษณะ "เจดีย์เก้าชั้น" เป็นศิลปะในสมัยถัง ตามหลักฐานจาก "หนังสือฮุดก่ากักจง" ได้กล่าวถึงสมัยรัชกาลพระเจ้าถังเหี่ยงจง ในช่วงปี พ.ศ.1349-1363 มีสมณทูตจากอินเดียนำพระบรมธาตุเข้าไปถวาย พระองค์เสด็จออกมาต้อนรับและฉลองสมโภชพระบรมธาตุ และสร้างพระเจดีย์เก้าชั้นบรรจุไว้ ศิลปะพระพุทธรูปถือเจดีย์จึงเกิดขึ้นในสมัยนี้ คงจะสร้างเพื่อบูชาพระบรมธาตุนั่นเอง

พระกริ่งทีอ๋อง 1 ใน 5 ของพระกริ่งนอกยอดนิยมชุด "เทียมตึ้งโงโจ้ว" นับเป็นพระกริ่งที่หายากยิ่งกว่าพระกริ่งใหญ่และพระกริ่งบาเก็งเสียอีก เพราะมีแพร่หลายไม่มากนัก เท่าที่เคยปรากฏไม่น่าจะถึงยี่สิบองค์ครับผม

ที่มาหนังสือพิมพ์ข่าวสด 
http://www.matichon.co.th/khaosod/view_news.php?
newsid=TUROaWRXUXdPREkxTURjMU1nPT0=
§ionid=TURNd053PT0=&day=TWpBd09TMHdOeTB5TlE9PQ=

โทร: 0971297060

ราคา: 0 บาท

หมวดพระ: พระยอดนิยมทั่วไป-พระกริ่ง-ลอยองค์-รูปหล่อ

0 ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบ ไม่สามารถโพสบทความหรือแสดงความคิดเห็นได้ เข้าสู่ระบบ