จำนวนคนอ่านล่าสุด 367 คน

พระกริ่งเทาะทลีทีอ๋อง กริ่งดังดี


พระกริ่งเทาะทลีทีอ๋อง กริ่งดังดี

พระกริ่งเทาะทลีทีอ๋อง กริ่งดังดี

พระกริ่งเทาะทลีทีอ๋อง กริ่งดังดี

พระกริ่งเทาะทลีทีอ๋อง กริ่งดังดี

พระกริ่งเทาะทลีทีอ๋อง กริ่งดังดี

พระกริ่งเทาะทลีทีอ๋อง กริ่งดังดี


รายละเอียด :

3492 CU-ZN-Ni

พระองค์ในภาพ มิใช่องค์ ในบทความ ------

----------------------------------

---วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556 ปีที่ 22 ฉบับที่ 8078 ข่าวสดรายวัน

พระกริ่งทีอ๋อง
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน วันนี้เราก็มาพูดคุยกันต่อถึงพระกริ่งนอกองค์สุดท้ายที่จัดอยู่ในพระชุดยอดนิยมของพระกริ่งนอก ก็คือพระกริ่งพัชรีทีอ๋อง หรือที่มักเรียกกันสั้นๆ ว่า พระกริ่งทีอ๋อง ส่วนคนจีนมักจะเรียกท่านว่า "เทาะทะลีทีอ๋อง" ซึ่งแปลว่า ท้าวโลกบาลประจำอยู่ทางทิศตะวันตก พระหัตถ์ถือเจดีย์ บางแห่งกล่าวว่า คือ ท้าววิรูปักษ์ ผู้เป็นใหญ่ในนาคพิภพ เนื่องจากพระกริ่งทีอ๋ององค์นี้บังเอิญถือเจดีย์เช่นเดียวกับท้าววิรูปักษ์ แต่เข้าใจว่าสร้างต่างคติกัน เพราะคำว่า "ทีอ๋อง" แปลว่า ท้าวโลกบาล ซึ่งประจำอยู่บนสวรรค์ เฝ้าพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าอยู่บนดาวดึงส์

พระกริ่งทีอ๋องนี้ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง ประมาณปี พ.ศ.1349-1363 เครื่องทรงของพระกริ่งแสดงถึงลักษณะของนักบวชจีน อันเป็นลักษณะพิเศษทางด้านพุทธศิลปะของสกุลช่างซัวไซ แต่ก็ดูเหมือนจะเป็นแบบที่พาให้นึกย้อนหลังไปถึงสมัยน่ำปัก เมื่อพุทธศตวรรษที่ 10

อย่างไรก็ตาม พระกริ่งทีอ๋องก็แสดงถึงลักษณะดั้งเดิมของจีน ผู้สร้างได้ถ่ายแบบมาจากพระพุทธรูปที่วัดหลงเมนยี่ ใกล้นครลกเอี๋ยงลักษณะเจดีย์เก้าชั้นเป็นศิลปะในสมัยถัง หนังสือชื่อฮุดก่ากับกักจง กล่าวถึงในรัชกาลพระเจ้าถังเหี่ยงจง พ.ศ.1349-1363 ศิลปะพระพุทธรูปถือเจดีย์เป็นแบบอย่างที่เกิดขึ้นในรัชกาลนี้ มีจารึกบอกอยู่ที่วัดฮุดกวงยี่ที่ซัวไซและที่หลงเมนยี่เมืองลกเอี๋ยง การสร้างพระพุทธรูปถือเจดีย์คงจะสร้างขึ้นเพื่อบูชาพระบรมธาตุ เพราะในรัชกาลนี้สมณทูตจากอินเดียได้นำพระบรมสารีริกธาตุเข้าไปถวายถึงกรุงเชียงอาน พระเจ้าถังเหี่ยงจงได้เสด็จออกต้อนรับ และฉลองสมโภชพระบรมสารีริกธาตุแล้วสร้างพระเจดีย์ใหญ่เก้าชั้นบรรจุไว้ และพระพุทธรูปที่สร้างเป็นลักษณะของรูปมนุษย์เริ่มมีขึ้นที่ซัวไซเป็นแห่งแรกในประเทศจีน พระกริ่งทีอ๋องก็คงถ่ายทอดแบบลักษณะการสร้างมาจากแห่งใดแห่งหนึ่งดังที่ได้กล่าวมาแล้ว

พุทธลักษณะของพระกริ่งทีอ๋อง ผู้สร้างพยายามเน้นให้เห็นถึงการแสดงออกทางกายวิภาคและอารมณ์อันสงบต่อการบำเพ็ญสมาธิ พระพักตร์เหี่ยวย่น คางแหลม และมีปลายหางตาที่ชี้สูง บอกถึงลักษณะความยิ่งใหญ่และอำนาจที่เปล่งอยู่ภายใน พระหัตถ์ซ้ายถือเจดีย์ยอดเปลวเพลิง อันหมายถึงความรุ่งโรจน์และการตั้งมั่นในหลักธรรม ดอกบัวแปดกลีบที่เป็นบัลลังก์ประดับอยู่ที่ฐานสองชั้น ชั้นละแปดกลีบ หมายถึงมรรคแปด ถ้ารวมกันจะนับได้ 16 กลีบ หมายถึง จับหลักกวงมึ้ง ที่พระองค์ได้สร้างถึง 16 โลกธาตุ ดินแดนแห่งอมตตามลัทธิศาสนาพุทธฝ่ายมหายาน

พระกริ่งทีอ๋องนี้ ก็เป็นพระกริ่งนอกอีกองค์หนึ่งที่ไม่พบว่ามีการบรรจุเม็ดกริ่งเลย เช่นเดียวกับพระกริ่งหนองแส แต่ก็จัดอยู่ในชุดพระกริ่งนอกเช่นกันครับ สร้างด้วยเนื้อสัมฤทธิ์แก่ทอง แบบทองม้าฬ่อ หรือสีกุญแจจีน ผิวสีน้ำตาลอมแดง

พระกริ่งทีอ๋องนับว่าเป็นพระกริ่งนอกที่หายาก เนื่องจากอาจจะมีจำนวนไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันจัดอยู่หนึ่งในห้าของชุดพระกริ่งนอกยอดนิยมครับ และในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระกริ่งทีอ๋องมาให้ชมกันอีกเช่นเคยครับ

คอลัมน์ : ชมรมพระเครื่อง

โดย : แทน ท่าพระจันทร์

 

โทร: 0971297060

ราคา: 0 บาท

หมวดพระ: พระยอดนิยมทั่วไป-พระกริ่ง-ลอยองค์-รูปหล่อ

0 ความคิดเห็น

กรุณาเข้าสู่ระบบ ไม่สามารถโพสบทความหรือแสดงความคิดเห็นได้ เข้าสู่ระบบ